บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

เปลี่ยนถ่ายอวัยวะจากสัตว์

Pig_200px_20090220

การใช้อวัยวะจากสัตว์มาปลูกถ่ายให้กับมนุษย์ แม้ว่าจะยังห่างไกลจากความเป็นจริงมาก แต่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการรอคอยอวัยวะในการปลูกถ่ายได้ ในบางประเทศ อาจมีคนคอยคิวรับการปลูกถ่ายอวัยวะจำนวนมาก และหลายคนต้องเสียชีวิตไปก่อนที่จะได้รับการรักษา และในบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้น แทนที่เราจะใช้ชิมแพนซีเป็นแหล่งของอวัยวะให้กับมนุษย์ แต่เราไม่สามารถเพิ่มจำนวนชิมแพนซีได้เร็วนักเมื่อเทียบกับหมู นอกจากนี้ขนาดอวัยวะของหมูยังใกล้เคียงกับของคนเราอีกด้วย

ปัญหาใหญ่ของการใช้อวัยวะจากสัตว์นั้นอยู่ที่ระบบภูมิต้านทาน (immune system) ของเราเองที่จะปฏิเสธอวัยวะ (rejection) นั้น (การปฏิเสธอวัยวะเกิดกับการปลูกถ่ายระหว่างคนเราเองด้วยเช่นกัน) ทำอย่างไรจึงจะจัดการกับปัญหาการปฏิเสธอวัยวะได้?

การใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตนเองในการสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะของตัวเองเป็นฝันของนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และคนไข้ แต่ก็ยังห่างไกลจากความเป็นจริงในการที่จะสร้างอวัยวะที่ซับซ้อนจากเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell)

ในรายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet นั้นแสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพในกรจัดการกับสิ่งที่กระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันระหว่างร่างกายของเรากับอวัยวะที่ปลูกถ่ายมาได้ ก็อาจจะลดการปฏิเสธอวัยวะได้นั่นเอง

นักวิทยาศาสตร์ใช้หมูดัดแปลงพันธุกรรมที่เรียกว่า “GTKO pig” หรือหมูที่ไม่สร้างโปรตีนกาแลกโตซิลทรานสเฟอเรซ (galactosyltransferase) ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาของการอุดตันของเส้นเลือดในอวัยวะที่นำมาปลูกถ่ายเพราะการจับตัวของเลือด (clot) และการอักเสบของอวัยวะ (inflammation) ซึ่งอาจต้องหาทางแก้ด้วยการดัดแปลงพันธุกรรมต่อไป

แม้ว่าความเป็นไปได้ของการปลูกถ่ายทั้งอวัยวะจะน้อย แต่การใช้เพียงบางส่วนเช่นเซลล์หรือเนื้อเยื่อจากสัตว์มาปลูกถ่ายให้กับมนุษย์อาจจะทำได้ง่ายกว่า เช่นการปลูกถ่ายเซลล์ที่สร้างอินซูลิน (insulin) ของหมูที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้วให้กับมนุษย์อาจจะเป็นไปได้ เพราะเราก็ใช้อินซูลินที่ให้หมูผลิตให้มานานแล้ว

แต่จะใช้สิ่งที่มาจากสัตว์ชนิดอื่นมาปลูกถ่ายให้กับมนุษย์เราได้นั้น (xenotransplantation) ต้องมั่นใจว่ามันใช้งานได้ และปลอดภัย ซึ่งยังคงเหลือหนทางอีกไกล

 

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ภาพถ่ายธรรมชาติยอดเยี่ยม

Logo_News_100

การประกวดภาพถ่าย Veolia Environment Wildlife Photographer of the Year 2011

  • แดเนียล เบลตรา ตากล้องจากสเปนได้รับรางวัลชนะเลิศด้วยภาพของนกเพลิแกน (pelican) แปดตัวที่ตัวถูกปกคลุมด้วยน้ำมันจากอุบัติเหตุที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon ในอ่าวเม็กซิโก เขาให้ชื่อภาพว่า "Still Life in Oil"
  • ผู้ได้รับรางวัล Young Wildlife Photographer of the Year คือเมทูซ ไพเชียกจากประเทศโปแลนด์ที่เก็บภาพของนกจับหอย American oystercatcher บนเกาะ Long Island มาได้
  • เบนซ์ เมท จากประเทศฮังการีได้รับรางวัลจากภาพชุดสัตว์ป่าของเขา แต่หนึ่งในนั้นเป็นภาพของนกพงใหญ่ (great reed warbler) ที่โฉบมาจับปลาไปจากทะเลสาบ แทนที่จะกินแมลงเหมือนที่มันควรกินตามปกติ
  • ไซริล รูโซ จากประเทศฝรั่งเศสได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหัวข้อสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์จากการภาพลิงจมูกสั้นขนทอง (golden snub-nosed monkey) ในประเทศจีนที่ทำท่านั่งขดตัวเพื่อเก็บรักษาความอบอุ่น
  • เคลาส์ เอคลี จากประเทศเยอรมันส่งภาพสัตว์ในสิ่งแวดล้อมเข้าประกวด แสดงให้เห็นแสงในหมอกยามเช้าและมีแม่จิ้งจอกตัวนึง
  • ดิมิทรี โมนาสไทสกิย์ ส่งภาพแมงมุมท้องเหลือง (yellow-sac spider) เข้าประกวดจากประเทศรัสเซีย
  • ภาพหมีสีน้ำตาลล่าปลาแซลมอนในทะเลสาปของพอล ซาวเดอร์มาจากอุทยานแห่งชาติแคทไม ในอลาสกา

ที่มา: In pictures: Wildlife photo award (BBC)

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

อินเตอร์เน็ตเปลี่ยนสมอง

Logo_Alumni_100

รายงานการวิจัยผลของการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) กับการเปลี่ยนแปลงของสมองในวารสาร Proceedings of the Royal Society B Biological Sciences แสดงผลการศึกษาภาพสามมิติสมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวน 125 คนในกรุงลอนดอน

ผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองในส่วนต่างๆ ซึ่งบริเวณที่มีตัวเซลล์ประสาทมากจะมีสีเทาที่เรียกว่า "grey matter" มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของสมองส่วนนั้นของเครือข่ายสังคมออนไลน์ของแต่คน และขนาดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ของแต่ละคนก็มีความสัมพันธ์กับขนาดกับขนาดของสังคมจริงๆของแต่ละคนอีกด้วย

สมองส่วนใดที่มีความสัมพันธ์กับขนาดเครือข่ายสังคมออนไลน์บ้าง?

  • ส่วนอมิกดาลา (amygdala) มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น อาจเพราะมันเกี่ยวข้องกับความจำและการตอบสนองทางอารมณ์

สมองอีกสามส่วนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของเซลล์ประสาทกับขนาดเครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่ไม่แสดงความสัมพันธ์กับสังคมในโลกจริงๆก็มีอีกสามส่วนที่ทีมวิจัยพบ

  • สมองส่วน "right superior temporal sulcus" ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ (คนที่เป็นออติสซึม autism จะมีสมองส่วนนี้ผิดปกติ)
  • สมองส่วน "left middle temporal gyrus" เกี่ยวข้องกับการอ่านสังคมออก
  • สมองส่วน "right entorhinal complex" เกี่ยวกับความทรงจำและการนำทาง

นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาทั้งสองทางว่าสมองเราปรับตัวอย่างไรกับการเกิดขึ้นของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในขณะเดียวกันเราก็อยากทราบว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรืออินเตอร์เน็ตนั้นส่งผลดีหรือผลเสียแก่สมองของเรา

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยตอบคำถามได้ แต่อย่างไรก็ตามมีผู้วิจารณ์ว่าขนาดของเครือข่ายสังคมออนไลน์อาจเป็นผลมาจากระยะเวลาที่อยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตที่มากน้อยต่างกันก็ได้

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง: