บทที่ 1 สารเคมีแห่งชีวิต

การพบฟอสฟีนในบรรยากาศของดาวศุกร์

Phospine on Venus

มีความเป็นไปได้ว่าฟอสฟีน (phosphine) ในบรรยากาศของดาวศุกร์อาจเกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือไม่?

บทที่ 5 ความหลากหลาย

สัมมนาวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 1

(ภาพจากเว็บไซต์ผู้จัดงาน)

The First Symposium of the Natural History Museum “ก้าวแรกแห่งคลังทรัพยากร” ในวันที่ 24-25 กันยายน 2563 (หมายเหตุ: เปลี่ยนวันจัดงาน จากเดิมที่จะจัดในเดือนมิถุนายน แต่ก็เพราะโควิด-19 ทำให้ต้องเลื่อน) ณ ห้อง Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ค่าลงทะเบียนบุคคลทั่วไป 1,500 บาท ผู้นำเสนอผลงาน 1,000 บาท

แม้ว่าเว็บมาสเตอร์จะทำพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ไม่เข้าข่ายเท่าไหร่ แต่ก็สนใจจะไป ติดแต่มีภาระราชการที่เลื่อนมาตรงกับช่วงเวลาของงานนี้เหมือนกัน ก็คงไม่ได้ไป (ถ้าไปก็ไปได้แค่วันที่ 24) กับอีกงานหนึ่งที่ร่วมกับโปรเจคอื่น เกี่ยวกับการทำศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์บางประเภทก็อาจจะพอส่งเข้าร่วมงานได้อยู่ในโอกาสหน้า

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

COVID-19

ข้อมูลจาก Infographic น่าสนใจเกี่ยวกับการระบาดของโรคครั้งใหญ่ในอดีตถึงปัจจุบัน

Link: https://www.visualcapitalist.com/history-of-pandemics-deadliest/?fbclid=IwAR20Vw8K04NhU7grflHCOWNzvyI_nKlX94YhOg4jK5Q3SU2SCIVjG-zXhMA

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 6 โครงสร้างและหน้าที่ในพืช

หิมะสีเลือด (watermelon snow)

ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่ในหิมะหรือน้ำแข็งมีสาหร่ายสีเขียวที่ดันสร้างรงควัตถุสีแดงเติบโตอยู่ได้เป็นจำนวนมาก ชนิด Chlamydomonas nivalis อยู่

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

สาหร่ายหิมะ (Snow Algae)

แน่นอนว่าเอามาสกัดขายเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ได้ด้วย

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

เล่าเรื่องการค้นพบ Homo naledi

การเล่าเรื่องเกี่ยวกับการค้นพบหนึ่งในญาติของมนุษย์ปัจจุบันของพวกเราชนิด Homo naledi โดย John S. Mead เผยแพร่ทาง YouTube เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561

Links

บทที่ 2 เซลล์

สอนชีวะขั้นเทพ

หากสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและฟังภาษาอังกฤษได้ด้วยแล้ว ขอแนะนำช่องและเว็บไซต์ของ iBiology ที่มีคลิปเกี่ยวกับชีววิทยาหลายเรื่องให้ศึกษา ที่มีคุณภาพสูงทั้งผู้บรรยาย สื่อประกอบการบรรยายที่ใช้

YouTube ช่อง iBiology (https://www.youtube.com/user/ibioseminars)

เว็บไซต์ของ iBiology (https://www.ibiology.org/)

บทที่ 2 เซลล์

สร้างภาพขั้นเทพ

เราสามารถทำภาพประกอบทางชีววิทยา โดยเฉพาะระดับเซลล์ได้โดยง่ายจากบริการของ BioRender.com

ซึ่งมีบริการฟรีเพื่อใช้ในการศึกษา และบริการที่คิดค่าบริการเพื่อนำภาพคุณภาพสูงไปใช้งานต่อ ซึ่งรวมถึงเพื่อการตีพิมพ์ในวรสารวิชาการ

โดย ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ทางเว็บไซต์แสดงค่าบริการแบบต่าง ๆ ไว้บนเว็บไซต์ทางเมนู Pricing พร้อมกับข้อมูลประกอบว่าในแต่ละรูปแบบจะได้อะไรบ้างประกอบการตัดสินใจ

บน YouTube ก็มีช่องของ BioRender รวมถึงคลิปแนะนำ BioRender รวมถึงข้อดีต่าง ๆ (https://youtu.be/wZlchXEvG6o)