บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

โห่ไม่ฮา

image

การโห่ไล่ (booing) เป็นพฤติกรรมแสดงความไม่สบอารมณ์ที่คนเรามีมาช้านาน เราอาจเห็นและได้ยินการโฮ่กันในเกมส์กีฬา หรือการแสดงอื่นๆ ที่ผู้ชมคนดูรู้สึกไม่พอใจในอะไรสักอย่าง มันเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่ถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นสู่รุ่นและกลุ่มคนที่อยู่ในที่แห่งเดียวกัน การโห่เป็นการสร้างเสียงเลียนแบบวัวตัวผู้ซึ่งมีเสียงต่ำ

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ฅนนับฅน

นิทรรศการ “ฅนนับฅน” ที่สถาบันวิจัยประชาการและสังคม ม.มหิดล ศาลายา และภาพหน้าจอจากเว็บไซต์ http://www.worldometers.info

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

โลกเราในวันนี้

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ

image

เว็บไซต์ http://www.worldometers.info

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

สำเนียงของลูกแพะ

นักวิทยาศาสตร์รายงานผลการศึกษาในวารสาร Animal Behaviour ว่าลูกแพะเวลาอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มจะมีเสียงร้องที่คล้ายกันมากขึ้น ทำให้แพะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งชนิดที่เราพบว่าสามารถปรับเปลี่ยนเสียงจากการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เช่นเดียวกับที่มนุษย์ ค้างคาว และวาฬก็ทำได้

นักวิจัยบันทึกเสียงของลูกแพะอายุหนึ่งสัปดาห์แล้วนำมาเทียบกับลูกแพะอายุห้าสัปดาห์หลังจากให้มันอยู่ในกลุ่ม และพบว่าสำเนียงเสียงร้องของลูกแพะออกมาใกล้เคียงกันกับสมาชิกในกลุ่ม

เสียงของลูกแพะนั้นจะคล้ายกันเมื่อมีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน แต่เมื่อมันถูกเลี้ยงขึ้นมาในกลุ่มเดียวกัน รูปแบบของเสียงก็จะใกล้เคียงกันมากขึ้นเช่นเดียวกัน

จากการศึกษานั้นอภิปรายได้ว่าลูกแพะเหล่านี้อาศัยอยู่ในธรรมชาติเป็นกลุ่มในสุมทุมพุ่มไม้เพื่อหลบภัยจากผู้ล่า และการรูปแบบเสียงแบบเดียวกันช่วยให้มันร้องเรียกหากันเพื่อรวมกลุ่มกันได้ในเวลากลางคืน

ที่มา:  BBC Nature – Goat kids can develop ‘accents’.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

หอยหนีน้ำ หรือมันมาสังสรรค์กัน

Achatina_fulica_20111015_01

อ.ศศิวิมลถ่ายภาพหอยทากยักษ์แอฟริกัน (African giant snail) ที่ปีนกำแพงขึ้นมาเป็นฝูงบนกำแพงรั้วบ้านมาให้ดู แล้วก็สงสัยว่ามันเป็นการหนีน้ำของหอยทากรึเปล่า?

หอยทากยักษ์แอฟริกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Achatina fulica เป็นหอยฝาเดียวหรือแกสโตรพอด (gastropod) และหายใจได้บนบกเพราะมันเป็นพวกพัลโมเนต (pulmonate) และมันจมน้ำได้ถ้าอยู่ในน้ำ การหนีน้ำจึงน่าจะเป็นสิ่งที่หอยพวกนี้ทำเวลามีน้ำท่วม

ในปีค.ศ. 1980 รายงานผลการศึกษาหอยทากพวกนี้ในวารสาร Behavioral and Neural Biology ว่าพวกเขาสังเกตเห็นหอยทากยักษ์นี้มารวมกลุ่มกันมากกว่าปกติ หรือมากกว่าที่จะเกิดขึ้นอย่างสุ่ม พวกเขาจึงออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรวมกลุ่มของหอยทากยักษ์แอฟริกันเหล่านี้

นักวิทยาศาสตร์รายงานผลการศึกษาว่าหอยทากยักษ์แอฟริกันมีพฤติกรรมรวมกลุ่มกันเชิงสังคมอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบในหอยทากที่เป็นญาติกันหรือออกมาจากไข่ที่ถูกวางอยู่ร่วมกันมากกว่าปกติ และเป็นพฤติกรรมที่พบในหอยที่โตแล้วมากกว่าในหอยที่เพิ่งฟักออกจากไข่

การสื่อสารระหว่างหอยแต่ละตัวน่าจะผ่านสารเคมี ผ่านการดมกลิ่นของพวกหอย

อ้างอิง:

  • Chase, R, Croll, R. and Zeichner, L. (1980).  Aggregation in snails, Achatina fulica.  Behavioral and Neural Biology 30, 218-230.
  • Facebook ของผมเอง
บทที่ 8 นิเวศวิทยา

งานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีผลกระทบต่อสังคม | Mahidol SC Blog

บลอกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชาสัมพันธ์งานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีผลกระทบต่อสังคม

มีงานวิจัย 9 เรื่องในรายการที่แสดงไว้ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คงนิดเดียวถ้าเทียบกับงานวิจัยเกือบสี่ร้อยเรื่องของคณะวิทยาศาสตร์ในแต่ละปี

แต่จริงๆแล้วงานไหนๆมันก็มีผลกระทบด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะทางตรงทางอ้อม ระยะสั้น ระยะยาว แล้วแต่จะมองครับ

ที่มา: งานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีผลกระทบต่อสังคม | Mahidol SC Blog.