บทที่ 6 โครงสร้างและหน้าที่ในพืช, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ผึ้งยนต์ช่วยผสมเกสร

ที่มา: http://www.digilyfe.co/2018/08/scientists-developing-robot-bees-to-pollinate-crops-as-bee-populations-decline

บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ฝังเข็มด้วยผึ้ง

อาจตายได้เพราะแพ้พิษของเหล็กไน

ที่มา https://www.livescience.com/62063-bee-acupuncture-death.html?utm_source=notification

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

สอนผึ้งทำภาระกิจเพื่อกินน้ำหวาน

sketch46739191.pngที่มา: https://www.facebook.com/LADbible/videos/3118384968208672/

เป็นวิดีโอการทดลองใช้ผึ้งปลอมสอนผึ้งจริงให้รู้จักการกลิ้งลูกบอลเล็ก ๆ ไปในที่ที่กำหนดให้ เพื่อที่จะได้รางวัลเป็นน้ำหวานตอบแทน และผึ้งจริงก็สามารถสอนผึ้งตัวอื่นให้ทำตามได้ด้วย

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

สำรวจประชากรผึ้งโดยภาคประชาชน

ลิงก์ Citizen bee survey’s surprise result http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-29122851

บทที่ 3 พันธุศาสตร์, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

การเปลี่ยนแปลงเหนือระดับพันธุกรรมควบคุมการเจริญของผึ้ง

Honey bees’ genetic code unlocked http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-20667948

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

เราต้องการผึ้งสุขภาพดีมากกว่านี้

โนอา วิลสัน-ริชศึกษาผึ้งและโรคในผึ้ง เขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเบสต์บีส์ (Best Bees) เพื่อช่วยเหลือคนที่ต้องเลี้ยงผึ้ง เขากล่าวว่าผึ้งกำลังหายไปจากธรรมชาติ แต่เราต้องการพวกมัน ทำอย่างไรจึงจะสามารถช่วยผึ้งและในขณะเดียวกันก็ช่วยโลกไปด้วยในตัว

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ฟังเสียงรังวัดสุขภาพผึ้ง

นักวิศวกรรมอิเล็กทรอกนิกส์ที่ผันชีวิตมาเป็นคนเลี้ยงผึ้งประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับฟังเสียงในรังผึ้ง ซึ่งเกิดจากการสั่นท้องและปีกของผึ้งขณะทำกิจกรรมต่างๆในรัง ก่อนส่งสัญญาณมาสู่เซิร์ฟเวอร์เพื่อทำการวิเคราะห์

เสียงจากรังผึ้งอาจใช้บอกสุขภาพของรังผึ้งได้ด้วย หากเราทราบว่าเสียงแต่ละแบบหมายถึงอะไร เราก็จะสามารถจัดการกับปัญหาได้เร็วขึ้น และดีกว่าต้องเข้าไปรบกวนผึ้งทุกครั้งที่ต้องการตรวจสอบ ซึ่งจะทำให้ผึ้งเครียดและอาจลดการผลิตน้ำผึ้ง

นักวิทยาศาสตร์อาจใช้ข้อมูลที่ได้จากรังในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับสุขภาพของรัง เช่นเมื่อถูกรบกวนด้วยปรสิตเช่นไรวาร์โร (varroa) จะเป็นอย่างไร

นอกจากจะเข้าใจเรื่องของผึ้งมากขึ้นจากการสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีข้อมูลแล้ว จะได้ช่วยเรื่องการอนุรักษ์ผึ้งที่เป็นผู้ถ่ายเรณูที่สำคัญต่อระบบนิเวศด้วย

ที่มา: BBC News – Bee hive hums recorded to monitor insects’ health.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 6 โครงสร้างและหน้าที่ในพืช

กล้วยไม้ลวงผึ้ง

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาดในโลก “กล้วยไม้ลวงผึ้ง” (bee orchid) เช่นกล้วยไม้ในสกุล Ophrys มีความน่าทึ่งที่สมกับชื่อที่มันได้รับ โดยนอกจากรูปร่างหน้าตาของมันจะคล้ายกับผึ้งแล้วในสายตาของเรา กล้วยไม้ดังกล่าวเหล่านี้ยังมีวิธีอื่นที่จะเชื้อเชิญผึ้งหรือต่อแตนที่มันต้องการใช้งานเข้ามาหามันโดยเลียนกลิ่นของตัวเมียด้วยการปลดปล่อยสารเคมีที่ทำหน้าที่เหมือนฟีโรโมนเพศเมียออกไปล่อเหล่าตัวผู้ให้เข้ามาผสมพันธุ์

แม้จะไม่มีแมลงตัวไหนประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ได้จริง แต่การลงทุนล่อลวงตัวผู้เข้ามาแบบนี้ช่วยให้กล้วยไม้ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์มากขึ้น เพราะเมื่อมันเข้ายังดอกไม้ด้วยความเข้าใจผิด พวกมันจะออกไปยังดอกอื่นๆด้วยระอองเรณูจากดอกที่มันเพิ่งหลงเข้าไป และทำให้เกิดการถ่ายเรณูที่ดอกอื่นต่อไปได้

ที่มา: http://www.bbc.co.uk/nature/life/Ophrys

กล้วยไม้ลวงผึ้ง