บทที่ 1 สารเคมีแห่งชีวิต, บทที่ 4 วิวัฒนาการ

สัตว์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน

นักวิทยาศาสตร์พบสัตว์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิตใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มา: http://www.bbc.com/earth/story/20170125-there-is-one-animal-that-seems-to-survive-without-oxygen

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ปูก้ามดาบกับพื้นที่เฉอะแฉะ

Fliddler_2013ปูก้ามดาบมีผลกระทบอย่างไรต่อระบบนิเวศ นักนิเวศพบว่าระบบนิเวศที่มีปูก้ามดาบอยู่มีความแตกต่างกับระบบนิเวศที่ไม่มีปูก้ามดาบ ปูก้ามดาบที่ขุดรูอยู่ลึก 30 เซนติเมตร อาจมีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับดินเลนที่ลึกลงไปได้ ลดความเครียดของพืชในพื้นที่ได้จากการขาดออกซิเจนของราก อาจกล่าวได้ว่าปูก้ามดาบมีบทบาทในระบบนิเวศในการเป็นผู้เกื้อหนุน (facilitator) ในระบบนิเวศจากผลทางอ้อมจากธรรมชาติการดำรงชีวิตของมัน ที่มา: “Fiddler crabs facilitate Spartina alterniflora growth, mitigating periwinkle overgrazing of marsh habitat” http://feedly.com/k/12gZPhc

บทที่ 1 สารเคมีแห่งชีวิต

ดาวอังคารเคยมีออกซิเจน

Martian_2013นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แนใจนักกับแนวคิดนี้ แต่การศึกษาหินที่มีอายุแตกต่างกันบนดาวอังคารแสดงให้เห็นว่าในอดีตนั้น ดาวอังคารมีบรรยากาศที่มีออกซิเจนอยู่มาก ทำให้เกิดการออกซิไดซ์บองแร่ธาตุ เปรียบเทียบกับหินที่มีอายุน้อยที่ไม่ได้มีลักษณะเช่นนั้น ที่มา: Early Mars atmosphere ‘oxygen-rich’ http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-22961729

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

จุลชีพใต้ทะเลลึก 11 กิโลเมตร

Deepest ocean ‘teems with microbes’ http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-21806406

เกี่ยวกับเรา

เปลี่ยนเป็นธีมชื่อออกซิเจน

เปลี่ยนธีมของบลอกประจำสัปดาห์นี้ใช้ธีมที่มีชื่อว่าออกซิเจน ซึ่งตอนนี้เป็นธีมฟรีอันสุดท้ายที่เปลี่ยนได้ ถ้าสัปดาห์หน้าไม่มีธีมใหม่มาคงต้องไปใช้ธีมอื่นๆที่ยังไม่เคยใช้

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย

การมาถึงของสัตว์โลก ตอนที่ 1 ส่วนที่ 2

สารคดี First Life ตอนที่ 1 ส่วนที่ 2/4

โลกเริ่มอุ่นขึ้น และพบว่าการระเบิดของภูเขาไฟมากขึ้น เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect) และทำให้โลกอุ่นขึ้น

หลังการละลายของน้ำแข็ง และโลกที่อุ่นขึ้นนำไปสู่วิวัฒนาการก้าวต่อไปของชีวิตบนโลก สารอาหารมากมายไหลลงสู่ทะเลจากน้ำแข็งที่ละลายกลายเป็นน้ำบนแผ่นดิน

การเติบโตของแบคทีเรียเช่นไซแอโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) ปล่อยออกซิเจนมากมายสู่บรรยากาศ และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของออกซิเจนในบรรยากาศและในน้ำนำไปสู่วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่หลายเซลล์ได้

เมื่อมีออกซิเจนมากขึ้น เซลล์ที่เกิดขึ้นหลังการแบ่งตัวสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ต้องแยกตัวออกไป

เดวิดพาเรามาดูฟองน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลยมากว่า 600 ล้านปี แต่มันให้ข้อมูลกับเราได้ว่าเซลล์มาอยู่ร่วมกันได้อย่างไร

เซลล์ของฟองน้ำมาอยู่ด้วยกันเพราะคอลลาเจน (collagen) เป็นเหมือนกาวเชื่อมเซลล์ให้อยู่ด้วยกัน และคอลลาเจนพบในสัตว์เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเมื่อมีออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น เซลล์สามารถสร้างคอลลาเจนและทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขึ้นมาได้

ฟองน้ำเป็นสัตว์หรือไม่ นักวิทยาศาสตร์ศึกษายีนในฟองน้ำ และพบว่าเราเองก็มียีนคล้ายกับฟองน้ำ

การทดลองทำให้ฟองน้ำแยกเป็นเซลล์เดี่ยวๆ ทำได้โดยตัดฟองน้ำเป็นชิ้นๆ แล้วบีบมันผ่านหลอดฉีดยา เมื่อศึกษาใต้กล้องจุลทรรศน์ เราจะเห็นได้ว่ามันกลายเป็นเซลล์เดี่ยวๆ แต่ภายในสามสัปดาห์พวกมันสามารถมารวมกันใหม่ และกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ได้

ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 600 ล้านปีที่แล้วอาจจะเกิดในลักษณะเดียวกันนี้ก็ได้ เมื่อเซลล์มาอยู่รวมกัน เชื่อต่อกันด้วยคอลลาเจน

ข้อดีของการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) มีมากมาย เช่นหาอาหารได้มากขึ้น แบ่งงานกันทำก็ได้เป็นต้น

บินข้ามฟ้าไปที่แคนาดาที่ Mistaken Point ของ Newfoundland ซึ่งตอนนี้เป็นแหล่งของซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัยของโลกไปแล้ว เพราะมันเป็นที่ที่มีซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ชนิดแรกของโลก

สิ่งมีชีวิตที่พบในตอนนี้เริ่มมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างออกไปจากฟองน้ำ บางตัวก็หน้าตาเหมือนชาร์เนียที่ได้เห็นในตอนที่หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกในบริเวณเดียวกันนี้เมื่อ 565 ล้านปีก่อน ในที่ซึ่งน่าจะเป็นก้นทะเลมาก่อน

พื้นทะเลตรงนี้เป็นพื้นโคลน ที่ลึกและเย็น เวลาสัตว์พวกนี้ตายไปมันถูกย่อยสลายอย่างช้าๆ นอกจากนี้เถ้าภูเขาไฟจำนวนมากทับถมบนซากของสัตว์ที่ตายไป และทั้งหมดนี้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากๆ จนการกระทำทางธรณีดันเอาแผ่นหินเหล่านี้ขึ้นมาบนบก

บางตัวมีชื่อเรียกว่าจานพิซซ่าจากลักษณะของมัน ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่อุบัติขึ้นบนโลกเมื่อกว่า 600 ล้านปีมาแล้ว

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 5 ความหลากหลาย

ส่งสปอร์ไปฆ่ามะเร็ง

BBC News – Soil bacterium helps kill cancers. ในงานประชุมวิชาการของสมาคมจุลชีววิทยา (Society of Microbiology) รายงานว่าสปอร์ของแบคทีเรีย Clostridium sporogenes สามารถใช้ส่งยาไปฆ่ามะเร็งได้ถึงต้นตอของมะเร็ง เพราะสปอร์ของแบคทีเรียนี้จะเติบโตเพียงแต่ในเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน

การทำลายเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อปกติของคนไข้ เป็นจุดหมายของการค้นคว้ารักษามะเร็ง มะเร็งบางประเภทมีลักษณะที่มีเนื้อแน่น และภายในปราศจากออกซิเจน จึงเป็นที่ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของสปอร์ ที่จะไม่เติบโตในส่วนอื่นของร่างการที่มีออกซิเจน

งานนี้ยังห่างไกลต่อการนำไปใช้จริงนัก ยังคงต้องติดตามผลการวิจัยกันต่อไป