บทที่ 4 วิวัฒนาการ

สิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลก

4.28 – 3.77 พันล้านปีก่อน อาจเป็นช่วงเวลาที่โลกมีสิ่งมีชีวิตอุบัติขึ้นแล้วก็เป็นได้ ดูจากรายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ (fossil) โบราณในประเทศแคนาดา

Origin_of_Life_in_Canadian_Quartz _20170301

ตำราเรียนทางชีววิทยาหรือวิวัฒนาการทั่วไปมักกล่าวถึงช่วงเวลาประมาณ 3.8 – 3.5 พันล้านปีก่อน ที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอุบัติขึ้นบนโลก

หลายคนอาจยังไม่เชื่อนัก แต่ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature ก็คอบให้ทุกคนลองไปอ่านกันอยู่ (ดังลิงก์ด้านล่าง)

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

สาเหตุการตายของลูซี่

ลูซี่ (Lucy) เป็นชื่อของซากดึกดำบรรพ์ (fossil) Australopithecus afarensis ที่มีอายุกว่า 3.2 ล้านปี และผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าลูซี่น่าจะเสียชีวิตจากการตกจากที่สูงเช่นต้นไม้ การสแกนด้วย CT Scan พบร่องรอยการบาดเจ็บคล้ายกับคนตกจากที่สูงแบบเดียวกับที่พบได้ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้เครื่องพิมพ์สามมิติในการพิมพ์กระดูกของลูซี่ทั้งในรูปแบบที่ค้นพบมาจริง กับโมเดลที่เติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปจนได้กระดูกทั้งชิ้นเพื่อยืนยันสภาพความเสียหายของกระดูกอีกด้วย การบาดเจ็บของลูซี่เป็นร่องรอยที่ไม่พบว่าเกิดการรักษาตัวเองขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบาดเจ็บดังกล่าวน่าจะทำให้ลูซี่ถึงแก่ชีวิตได้เลยในเวลานั้น

ที่มา: http://www.bbc.com/news/science-environment-37194764

บทที่ 3 พันธุศาสตร์, บทที่ 4 วิวัฒนาการ

วิวัฒนาการของม้าเมื่อ 500,000 ปีก่อน

นักวิทยาศาสตร์พบซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษม้า และสกัดดีเอ็นเอออกมาศึกษาได้ ทำให้เราสามารถย้อนเวลากลับไปสู่ประวัติวิวัฒนาการของม้าได้เป็นเมื่อ 500,000 กว่าปีก่อนเลยทีเดียว

ที่มา: http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-23060993

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย

ไดโนเสาร์ที่มาดากัสการ์

รายงานใน PLoS ONE เกี่ยวกับการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 90 ล้านปีก่อน ในเวลาที่มาดากัสการ์และอินเดียยังคงไม่แยกออกจากกันอย่างที่เห็นอย่างเช่นทุกวันนี้

นอกจากจะเป็นเรื่องของการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่แล้ว ยังช่วยบอกเราให้ทราบถึงวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ในมาดากัสการ์และอินเดียที่ก่อนหน้านี้คาดเวลาไว้แตกต่างออกไปก่อนที่เจอไดโนเสาร์ในครั้งนี้

ที่มา: BBC News – Dinosaur ‘fills fossil record gap’.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ซากดึกดำบรรพ์ฉลามฟันเกลียว

Spiral-toothed fossil mystery solved http://www.bbc.co.uk/nature/21589719

บทที่ 3 พันธุศาสตร์, บทที่ 4 วิวัฒนาการ

กำเนิดมนุษย์เอเซีย

งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร PNAS รายงานถึงการศึกษาดีเอ็นเอที่สกัดจากซากดึกดำบรรพ์ (fossil) กระดูกต้นขาของมนุษย์โบราณอายุกว่า 40,000 ปี ที่พบในถ้ำนอกกรุงปักกิ่งในประเทศจีนว่ามีความสัมพันธ์กับคนจีนและคนในเอเซียในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าคนที่อพยพเข้ามาในเอเซียจนถึงเมื่อสี่หมื่นปีก่อนนั้นได้กลายเป็นคนจีนและคนเอเซียไป คนเอเซียไม่ได้มาจากคนที่อพยพเข้ามาหลังจากนั้นเป็นต้น เทคนิคในการศึกษาดีเอ็นเอจากซากดึกดำบรรพ์ในการศึกษานี้เป็นแบบที่สามารถทำได้แม้จะมีดีเอ็นเอของแบคทีเรียหรือสิ่งมีชีวิตอื่นในดินที่พบซากดึกดำบรรพ์ด้วยได้

ที่มา: Fossil human traces line to modern Asians

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย

ออสตราคอดชนิดใหม่จากเมื่อสี่ร้อยกว่าล้านปีก่อน

Shrimp fossil-find ‘new species’ http://www.bbc.co.uk/news/uk-england-20692019