บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ปอมเปอีกับฟอสซิล

เหล่าซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในจีนอาจเกิดจากเหตุการณ์คล้ายๆกับที่เกิดขึ้นที่เมืองปอมเปอีที่ภูเขาไฟระเบิด แล้วปล่อยเถ้าภูเขาไฟปริมาณมหาศาลมาทับถมสิ่งมีชีวิตในบริเวณใกล้เคียง

ที่มา: ‘Animal Pompeii’ wiped out China’s ancient creatures

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ผลกระทบจากภูเขาไฟระเบิดในอดีต

การเปรียบเทียบบันทึกโบราณเท่ยบกับการขุดแกนน้ำแข็งขึ้นมาเปรียบเทียบทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเปรียบเทียบผลกระทบของการระเบิดในอดีตได้ เช่นการบันทึกว่าบางปีมีอากาศที่เย็นผิดปกติอันน่าจะเกิดมาจากผลของเถ้าภูเขาไฟที่ไปบดบังแสงอาทิตย์ในช่วงปีนั้นๆนั่นเอง ที่มา: Irish annals reveal volcanic impacts http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-22786179

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

การผสมพันธุ์ของเต่า

ข่าวนี้มาจาก BBC News – Turtles fossilised in sex embrace ตามที่นักวิทยาศาสตร์รายงานในวารสาร Biology Letter ว่าพบซากดึกดำบรรพ์ของเต่าชนิด Allaeochelys crassesculpta ตัวผู้กับตัวเมียที่อยู่ในท่าผสมพันธุ์กัน

นักวิทยาศาสตร์พบซากดึกดำบรรพ์ของเต่าในลักษณะที่ตัวผู้ตัวเมียอยู่ใกล้กันบ่อยๆ และมักพบว่ามันหันไปทางเดียวกันด้วย ซึ่งทำให้น่าสงสัยว่าทำไมจึงอยู่ใกล้และหันไปทางเดียวกัน จนกระทั่งพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลที่แสดงให้เห็นว่ามันน่าจะกำลังผสมพันธุ์กันเลยอยู่นี้เข้า

การที่เราพบซากดึกดำบรรพ์ของเต่าในท่าทางเสมือนหนึ่งว่ามันกำลังตายขณะมีอะไรกันอยู่นี้ น่าจะเกิดขึ้นจากการปลดปล่อยก๊าซอย่างเช่นคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็วขึ้นมาจากพื้นทะเลสาบที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟในอดีต ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตตายลงอย่างรวดเร็ว และอาจตามด้วยการประทุของภูเขาไฟที่ปลดปล่อยเถ้าถ่านออกมาทับถมซากของสัตว์ที่ตายอย่างรวดเร็วด้วยคาร์บอนไดออกไซด์จากใต้ทะเลสาบเมื่อครู่ จนทำให้เราพบซากดึกดำบรรพ์แสดงกิจกรรมที่มันทำกันอยู่ในเสี้ยววินาทีก่อนที่มันจะตายลงนั่นเอง

ญาติของเต่าที่พบและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันคือเต่าจมูกหมูชนิด Carettochelys insculpta ที่มีขนาดใหญ่กว่าชนิดที่ซากดึกดำบรรพ์ไปแล้วแต่แสดงพฤติกรรมการผสมพันธุ์ในลักษณะเดียวกันกับที่พบจากฟอสซิลนี้เช่นกัน

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 1 สารเคมีแห่งชีวิต, บทที่ 4 วิวัฒนาการ

ฟ้าผ่ากับภูเขาไฟระเบิด

การทดลองของอูเรย์กับมิลเลอร์แสดงให้เห็นว่าการทำให้สารเคมีอย่างมีเทน แอมโมเนีย และน้ำสลายตัวออกด้วยพลังงานไฟฟ้าทำให้เกิดสารอินทรีย์อย่างกรดอะมิโนได้ หากสาเคมีเหล่านั้นมีอยู่แล้วในชั้นบรรยากาศโลกดึกดำบรรพ์ แล้วกระแสไฟฟ้ามาจากไหนได้บ้าง

เถ้าถ่านกับสายฟ้า

การเสียดสีของเถ้าถ่านระหว่างการระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิดความต่างศักย์มหาศาลที่มากพอที่จะเกิดฟ้าผ่าตามลำของฝุ่นผงที่พวยพุ่งขึ้นท้องฟ้าได้

สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ก็อยู่ภายใต้กฎฟิสิกส์เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตกาล ซึ่งเป็นไปได้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ทำให้โมเลกุลของสารเคมีในบรรยากาศแยกออกและรวมตัวกันใหม่เป็นสารอินทรีย์ก่อนจะลงไปสะสมในน้ำทะเลเบื้องล่างก็อาจเกิดขึ้นได้ในลักษณะนี้

ที่มาของภาพ: Earth (Google+)

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

ภูเขาไฟใต้ทะเล ณ ร่องลึกใต้สมุทร

ในการประชุมวิชาการของ American Geophysical Union มีการนำเสนอผลการศึกษาสภาพภูมิประเทศใต้ทะเลลึกแถบมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ด้วยระบบหาวัตถุใต้น้ำด้วยคลื่นเสียง (sonar)

ผลการศึกษาทำให้นักวิทยาศาสตร์เห็นภูมิประเทศจากร่องลึกใต้สมุทรตองก้า (Tonga Trench) ทางตอนเหนือของนิวซีแลนด์

ในบริเวณนี้ มีแนวภูเขาไฟใต้ทะเลยาเหยียดตลอดแนวยาวหลายพันกิโลเมตร ที่ส่วนหนึ่งกำลังเคลื่อนที่ไปบนแผ่นเปลือกโลก (tectonic plate) แปซิฟิกไปทางตะวันตกด้วยความเร็ว 6 เซนติเมตรต่อปี

ในบริเวณนี้ยังเป็นบริเวณที่มีการมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) อันเนื่องมาจากการที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมาชนกัน

ที่ร่องลึกใต้สมุทรนี้เราสามารถเห็นภูเขาไฟใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่กำลังพังทลายลง ณ บริเวณที่มีการมุดตัวของเปลือกโลก ที่อาจเป็นร่องลึกลงไปได้ถึงกว่า 10 กิโลเมตร

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

นักภูเขาไฟวิทยา

BBC iPlayer – The Tribes of Science: More Tribes of Science: Volcanologists. เราแปลคำว่า volcanologist ว่านักภูเขาไฟวิทยารึเปล่าในภาษาไทย ผมก็ไม่ทราบ แต่ก็น่าจะใช่ เพราะคำว่า volcanology แปลเป็นไทยว่าภูเขาไฟวิทยา แสดงว่าไม่มีคำเท่ๆสำหรับภูเขาไฟอีกแล้วรึเปล่า

ลิงก์นี้เกี่ยวกับรายการวิทยุ BBC4 ที่ผมฟังทางระบบ BBC iPlayer ทางอินเตอร์เน็ตครับ