บทที่ 8 นิเวศวิทยา

หมาป่ากับหมี

การนำหมาป่ากลับมาอยู่ในอุทยานแห่งชาติเยลโล่สโตนช่วยให้ชีวิตหมีในอุทยานดีขึ้นด้วยการจำกัดประชากรกวางเอลค์ (elk) ที่หมาป่าจะล่าเป็นอาหาร ทำให้ไม้ผลที่หมีกับกวางเคยต้องแย่งกันมีให้หมีกินมากขึ้น

ที่มา: Wolves ‘aiding bears’ in Yellowstone http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-23495074

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ร่วมด้วยช่วยกันกำจัดริ้นดำเฝ้าระวังโรค river blindness

ด้วยความร่วมมือกันของชาวบ้านที่เอาตัวเองเข้าแลกเป็นเหยื่อล่อแมลงริ้นดำ (black fly) พาหะของโรคทำให้เฝ้าระวังไม่ให้โรค river blindness กลับมาได้
ที่มา: African fly-catchers beating disease http://www.bbc.co.uk/news/magazine-22201676

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

กลัวแสงจันทร์

นักชีววิทยามีข้อมูลว่าค้างคาวออกมาหากินน้อยลงในคืนวันเพ็ญ แต่ไม่ทราบว่าเพราะอะไรกันแน่ จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจที่จะศึกษาเรื่องลึกลับนี้ และรายงานผลการศึกษาในวารสาร Mammalian Biology ฉบับเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา

ผลการศึกษาค้างคาวหลายชนิด เปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมการออกหาอาหารกับอิทธิพลของแสงจันทร์ และปัจจัยอื่นๆทางนิเวศวิทยา เช่นแหล่งหาอาหารของมันเช่นพวกกินปลา พวกที่กินผลไม้ พวกที่กินแมลง ฯลฯ

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในยามที่แสงจันทร์นวลผ่อง เช่นคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ค้างคาวออกหากินน้อยลง สัมพันธ์กับวิธีการหาอาหาร โดยหากว่ามันต้องหากินปลาจากผิวน้ำ หรือกินผลไม้บนต้นไม้ เพราะโอกาสที่ผู้ล่าเช่นนกนักล่าหากินเวลากลางคืนด้วยกันจะจับมันได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ค้างคาวที่หากินใต้เรือนยอดของป่ารับผลกระทบจากแสงจันทร์วันเพ็ญน้อยกว่าญาติของมันที่ต้องเสี่ยงกับแสงจันทร์กลางที่โล่ง

น่าสนใจว่าหมาป่าออกล่าเหยื่อมากขึ้นในวันพระจันทร์เต็มดวงหรือไม่ (เพราะมันน่าจะชอบพระจันทร์มากกว่าค้างคาว) นอกจากนี้โอกาสที่ผู้ล่าจะจับค้างคาวมีมากขึ้นหรือไม่ในวันที่แสงจากดวงจันทร์มากกว่าวันอื่นๆ หรืออาจจะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะเหยื่อตัดสินใจออกมาหาอาหารน้อยลงก็เป็นได้

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

งูเหลือมรู้ใจเหยื่อ

นักวิทยาศาสตร์รายงานการศึกษางูเหลือมว่ามันจะต้องรัดเหยื่อไปอีกนานแค่ไหนได้อย่างไรในวารเสาร Biology Letters

ในการทดลองนั้นใช้หนูที่มีหัวใจเทียม ทำขึ้นมาจากถุงต่อกับปั๊ม ซึ่งการทดลองแสดงให้เห็นว่างูจะพยายามรัดเหยื่อต่อไปตราบที่ “หัวใจเทียม” ของเหยื่อยังเต้นอยู่

การรัดนั้นต้องใช้พลังงาน ดังนั้นหากงูรู้ได้ว่าจะต้องรัดถึงเมื่อไหร่ เพื่อให้ได้อาหาร (รู้ว่าเหยื่อตายเมื่อไหร่) ก็จะประหยัดพลังงานดีกว่าการรัดไปเรื่อยๆในนานที่สุด

ที่มา: BBC Nature – Boa constrictor snakes sense prey’s fading heartbeat.

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

กว่าจะมาเป็นฉลามขาวผู้น่าเกรงขาม

BBC – Earth News – Great white shark’s jaw weakness revealed. ในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biomechanics แสดงให้เห็นว่ากว่าที่ฉลามขาวจะเติบโตเป็นนักล่าแห่งท้องทะเลผู้น่าเกรงขามนั้น ชีวิตของมันในวัยเยาว์ช่างน่าสงสาร มันอาจจะขากรรไกรพังได้หากเลือกเหยื่อที่มีกระดูกแข็ง เพราะขากรรไกรของมันจะแข็งแรงได้ด้วยการมีแร่ธาตุไปสะสมเป็นชั้นๆบนกระดูกอ่อนบนขากรรไกรของมัน ซึ่งต้องใช้เวลานาน

ฉลามขาววัยเด็กจึงเลือกินปลาตัวเล็กๆ แทนที่จะกินแมวน้ำอุดมด้วยเนื้อนุ่มและไขมันแบบพ่อแม่ของมัน