บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

อาวุธโบราณเป็นกุญแจไขปริศนาความหลากหลาย

Artefacts clues of sharks’ absence http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-22005634

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ฉลามกับดาบเลเซอร์

นักวิทยาศาสตร์พบว่าฉลามแลนเทิร์น (lanternshark) เป็นฉลามขนาดเล็ก ใช้การเรืองแสงเพื่อพรางต้วและเพื่อโชว์ตัวในเวลาเดียวกัน มันใชการเรืองแสงเพื่อหลอกเหยื่อเบื้องล่างได้ โดยแสงที่เรืองออกมาทำใหเหยื่อด้านล่างไม่คิดว่ามีผู้ล่าอยู่เหนือมัน แต่บนหลังกลับมีหนามที่เรืองแสงได้เพื่อบอกผู้ล่าของมันว่าถ้าจะกินมันก็คิดให้ดีๆก่อน อ่านต่อ: Glowing shark’s ‘lightsaber’ warning http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-21531532

บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

โลมาว่ายน้ำช้าลงเมื่อตั้งท้อง

Research_DolphinNameงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Experimental Biology แสงดงให้เห็นว่าโลมาที่ตั้งท้องจะว่ายน้ำช้าลงกว่าครึ่ง

โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มันออกลูกเป็นตัวเช่นเดียวกับมนุษย์ ชอน ลอเรน ต้องการศึกษาการว่ายน้ำของลูกโลมาในตอนแรก แต่หลังจากถ่ายภาพวิดีโอของโลมาว่ายน้ำตอนท้องมาดูด้วยกว่า 30 ชั่วโมง ทำให้เธอสนใจเรื่องของแม่โลมาขึ้นมา

จากการศึกษาพบว่าโลมาที่ท้องแก่ว่ายน้ำช้าลงกว่าครึ่งของความเร็วเดิมที่มันทำได้หากไม่ได้ตั้งท้อง

เมื่อตั้งคำถามว่าอะไรทำให้ว่ายน้ำช้าลง เกี่ยวข้องกับท้องที่ป่องออกมาหรือไม่?

นักวิทยาศาสตร์พบว่าความเร็วที่ลดลงนั้นเกิดจากการวาดหางขึ้นลงในการว่ายน้ำที่ลดลง 13% ของความกว้างในการวาดหางสร้างแรงดันในการเคลื่อนที่ ซึ่งน่าจะเกิดจากเหตุผลทางสรีระที่ตัวอ่อนอยู่ค่อนไปข้างหลัง และทำให้แม่โลมาท้องแก่ไม่สามารถสร้างแรงในการว่ายน้ำได้เหมือนเดิม

โลมาปกติทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่แม่โลมาท้องแก่มีความเร็วสูงสุดที่ 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ผู้ล่าที่กินโลมาเป็นอาหารอย่างเช่นวาฬเพชรฆาต สามารถทำความเร็วได้ระหว่าง 14-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฉลามขาวสามารถทำความเร็วได้ระหว่าง 22-25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ฉลามเสือว่ายด้วยความเร็วสูงสุดที่ 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าโลมาท้องแก่เสียเปรียบผู้ล่าของมันอยากมาก แต่ทั้งนี้มันก็คุ้มกับการลงทุนเลี้ยงดูลูกให้เติบใหญ่ในครรภ์ให้พร้อมก่อนคลอดออกมาดูโลก

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

พบฉลามสีฟ้ามากับกระแสน้ำอุ่น

BBC News – Blue shark found on Lewis in the Western Isles. ข่าวพบฉลามสีฟ้า (blue shark) บนชายฝั่งตะวันตกของเกาะหนึ่งของสกอตแลนด์ นักวิทยาศาสตร์บอกว่าฉลามพวกนี้พบกระจายอยู่ทั่วไป และเป็นไปได้ที่มันจะไหลหรือว่ายมาตามกระแสน้ำอุ่นมหาสมุทรแอตแลนติก (Gulf Stream)

ฉลามสีฟ้าตัวนี้ยาว 1.8 เมตร เพศเมียและตังครรภ์อยู่ด้วย พบโดยนายมาร์ติน สกอต