บทที่ 5 ความหลากหลาย

กิ้งก่าจิ๋ว

Tiny_Chameleon_with_Ant_2017

กิ้งก่า chameleon แคระแห่งมาดากัสการ์ ชนิด Brookesia minima มีขนาดใหญ่กว่ามดนิดเดียว จริง ๆ แล้วมีอีกชนิดชื่อ Brookesia micra ที่ยิ่งเล็กกว่า ได้รับการค้นพบเมื่อปีค.ศ. 2012

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

กิ้งก่าวิ่งบนผิวน้ำ

sketch24103811.png

ซี่รี่ย์เรื่องราวของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้โดยท่านเซอร์เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ บนเว็บไซต์ BBC.co.uk ครั้งนี้เกี่ยวกับกิ้งก่าที่วิ่งบนผิวน้ำได้อย่างกับนินจาที่เดินบนผิวน้ำได้ เจ้ากิ้งก่าพระเยซู (Jesus Christ Lizard) วิ่งบนผิวน้ำด้วยความเร็วที่มากพอที่จะทำให้มันไม่จมน้ำ โดยหากเทียบกับมนุษย์ที่น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัมแล้ว เราคงต้อวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า 150 กิโลเมตรต่อชัวโมงกันเลยทีเดียว ที่มา: http://www.bbc.com/earth/story/20170127-jesus-christ-lizard-runs-on-water

บทที่ 5 ความหลากหลาย

กิ้งก่ายักษ์โบราณกับชื่อนักร้องนักดนตรี

นักวิทยาศาสตร์ที่นำชื่อจิม มอร์ริสันมาตั้งให้กับกิ้งก่ายักษ์โบราณกล่าวว่าเขาฟังเพลงของวงนี้อยู่จึงจับมาตั้งเสียเลย 6ft lizard named after Doors singer http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-22764946

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย

กิ้งก่า Obamadon gracilis

นักวิทยาศาสตร์พบกิ้งก่าสปีชีส์จากซากดึกดำบรรพ์ตามชื่อประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐอเมริกา Extinct lizard named after Obama http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-20639213

บทที่ 5 ความหลากหลาย

แรงโก้ฮีโร่ทะเลทราย

แรงโก้ฮีโร่ทะเลทราย.การ์ตูนแอนิเมชันเรื่องแรงโก้ฮีโร่ทะเลทราย (Rango) ซึ่งเป็นเรื่องของกิ่งก่าตกยาก เดิมเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความเพ้อฝัน แต่ตกจากท้ายรถหล่นมาอยู่ข้างถนนกลางทะเลทรายเนวาดาในสหรัฐอเมริกา

ในที่นี้ขอกล่าวถึงพระเอกของเราที่มีหน้าตาคล้ายสัตว์โลกตัวจริงอย่างกิ้งก่าผ้าคลุมหน้า (Chamaeleo clyptratus) กับเจ้าคางคกแม่น้ำโคโรลาโด ( Bufo alvarius)

ลิงก์: ไปเรียนชีววิทยากับแรงโก้ ฮีโร่ทะเลทราย จากคลังความรู้ทางวิทยาศาสตร์ Scimath.org ส่วนหนึ่งของบทเรียนการเรียนชีววิทยาจากภาพยนตร์

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

กิ้งก่าทรายคืนถิ่น

BBC News – Sand lizards bred at Chester Zoo return to Ynyslas. ทีมงานอนุรักษ์นำกิ้งก่าทราย (sand lizard) ที่เพาะเลี้ยงในสวนสัตว์เมืองเชสเตอร์ในประเทศอังกฤษ กลับคืน (reintroduction) สู่แหล่งอาศัยที่แท้จริงของพวกมันในอดีตในเวลล์ (Wales) ที่ซึ่งพวกมันได้สูญพันธุ์ไป (local extinction) เมื่อช่วงกลางของศตวรรษที่ 20

บทบาทของสวนสัตว์ก็คือเพื่อการศึกษา เพื่อการวิจัย และเพื่อการอนุรักษ์