บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

มะเร็งที่แพร่ระบาดได้

14902260469961.jpg

ตัวแทสมาเนียนเดวิล คงไม่อยากกัดกันแล้วเป็นมะเร็ง แต่โรค Devil Facial Tumour Disease (DFTD) กำลังทำให้ประชากรของสัตว์ชนิดนี้ลดลงไปเรื่อย ๆ

ปกติแล้วมะเร็งไม่แพร่ระบาดแบบโรคติดต่อ เพราะเซลล์มะเร็งจะมีผิวเซลล์ที่หลอกภูมิคุ้มกันของตัวเองได้ แต่หลอกตัวอื่นไม่ได้ ดังนั้นเมื่อสัตว์ได้รับเซลล์มะเร็งจากสิ่งมีชีวิตตัวอื่น ระบบภูมิคุ้มกันจะเห็นมันเซลล์แปลกปลอม และทำลายได้

แต่เซลล์ของ DFTD ไม่มีผิวเซลล์ที่ภูมิคุ้มกันจะจำได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ตัวไหน มันจึงแพร่ระบาดได้เมื่อแทสมาเนียนเดวิลกัดใบหน้ากัน ก็จะได้รับเซลล์มะเร็งของตัวที่เป็นอยู่เข้าไป และเมื่อเป็นแล้วก็มักจะตายภายในไม่กี่เดือน แทสมาเนียนก็ไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมการกัดหน้ากัน ดังนั้นจึงทำให้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

แม้จะทำนายได้ว่ามันจะสูญพันธุ์ไปด้วยโรคนี้ กับการระบาดของโรคแบบนี้ แต่มันก็ยังไม่สูญพันธุ์ไป นักวิทยาศาสตร์พบว่าในบางประชากรที่เริ่มการพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็งนี้ขึ้นได้

นักวิทยาศาสตร์พยายามจะช่วยให้แทสมาเนียนอยู่รอดต่อไปด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการหาประชากรที่ไม่เป็นโรคมาเลี้ยง เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรที่ไม่เป็นโรค รวมถึงการทำวัคซีนถ้าเป็นไปได้

แทสมาเนียนเดวิลเอง มีวิวัฒนาการในการต่อสู้กับโรคนี้ไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม เช่นการที่เพศเมียมีลูกได้ตั้งแต่อายุยังน้อย (12 เดือน) ทำให้อย่างน้อยมันก็จะมีลูกได้ ก่อนที่จะเป็นโรค ดังนั้นหนทางรอดจากการสูญพันธุ์จากโรคมะเร็งที่แพร่ระบาดได้ในหมู่แทสมาเนียนเดวิล ก็อาจจะอยู่ที่ความสามารถในการปรับตัวและวิวัฒนาการของมันเองได้เช่นกัน

สู้ต่อไป…

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 3 พันธุศาสตร์

มีดผ่าตัดพิฆาตมะเร็ง

มีดผ่าตัดที่มีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ช่วยบอกแพทย์ได้ว่าเนื้อส่วนที่ผ่าตัดอยู่เป็นเนื้อร้ายหรือเนื้อดีได้ เมื่อมีดไฟฟ้านี้สัมผัสเนื้อไอที่เกิดจาการเผาจะถูกวิเคราะโดยเซ็นเซอร์ภายในมีดได้ ที่มา: ‘Cancer sniffing’ knife designed http://www.bbc.co.uk/news/health-23348661

บทที่ 1 สารเคมีแห่งชีวิต, บทที่ 2 เซลล์

ตุ่นเปลือยไม่เคยเป็นมะเร็ง

Naked_Mole_Rat_2013การศึกษาสัตว์ที่ไม่เป็นมะเร็งทำให้เราอาจรู้ว่ามันมีอะไรดีจึงไม่เคยเป็นมะเร็ง สารที่พบในผิวหนังที่เปลือยเปล่าและย้วยๆนี้มีสารื่อไฮยารูรอน สารที่ใช้ในเครื่องสำอางค์ที่เราอาจเคยได้ยินผ่านหู แต่ไม่ได้หมายความว่าการใช้เครื่องสำอางค์จะปัองกันมะเร็งได้ นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเมื่อมีสารนี้ในเซลล์จะช่วยไม่ให้เซลล์มะเร็งก่อตัวขึ้น แต่เราจะเอาความรู้นี้มาใช้ทำอะไรคงยังบอกไม่ได้ ที่มา: Naked mole-rat gives cancer clues http://www.bbc.co.uk/news/health-22961694

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 3 พันธุศาสตร์

มะเร็งในมนุษย์โบราณ

ดูเหมือนว่าการอยู่ในโลกที่มีมลพิษน้อยกว่าปัจจุบันไม่ได้แปลว่าจะไม่เป็นมะเร็ง เช่นการพบว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่มีชีวิตอยู่กว่าเมื่อกว่าแสนปีที่แล้วในยุโรปก็ยังเป็นมะเร็งกระดูกได้ ในกรณีบอกข้อมูลอะไรเพิ่มเติมได้มากนักว่าพอเป็นมะเร็งแล้วนีแอนเดอร์ทัลมีอาการเป็นอย่างไรเพราะโครงกระดูกของคนที่เป็นมะเร็งมีไม่ครบทั้งร่าง ที่มา: Neanderthal clues to cancer origins http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-22780717

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 3 พันธุศาสตร์

ดีเอ็นเอจตุรเกลียว

งานวิจัยในวารสาร Nature Chemistry กล่าวถึงการศึกษาดีเอ็นเอที่มีสี่เส้นในหนึ่งเกลียว ซึ่งเป็นการยืนยันว่าพบในเซลล์มนุษย์ และอาจจะเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงอาจนำไปสู่การรักษามะเร็งแบบใหม่ๆได้

เดิมทีดีเอ็นเอของเราจะอยู่กันเป็นเกลี่ยวคู่ (double helix) แต่ในบางกรณีที่มีเบส G มากๆ อาจจะพบว่าดีเอ็นเอจะเป็นแบบจตุรเกลียว (quadruple helix) ได้

ในการแบ่งเซลล์ จะมีช่วงที่เซลล์ต้องจำลองดีเอ็นเอขึ้นมาก่อนที่จะแบ่งเซลล์ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่มีดีเอ็นเอเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเซลล์ ในกรณีของเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวเกินการควบคุมของร่างกาย การแบ่งเซลล์นี้จะเป็นอันตรายได้ หากสามารถหายาที่จะจับดีเอ็นเอช่วงนี้ได้จากโครงสร้างแบบนี้อาจช่วยป้องกันหรือรักษามะเร็งได้ต่อไป

ที่มา: BBC News – ‘Quadruple helix’ DNA seen in human cells.

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

สาวน้อยกับหนทางใหม่สู้มะเร็ง

Eva Vertes looks to the future of medicine #TED : http://on.ted.com/b1MF