บทที่ 2 เซลล์

สอนชีวะขั้นเทพ

หากสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและฟังภาษาอังกฤษได้ด้วยแล้ว ขอแนะนำช่องและเว็บไซต์ของ iBiology ที่มีคลิปเกี่ยวกับชีววิทยาหลายเรื่องให้ศึกษา ที่มีคุณภาพสูงทั้งผู้บรรยาย สื่อประกอบการบรรยายที่ใช้

YouTube ช่อง iBiology (https://www.youtube.com/user/ibioseminars)

เว็บไซต์ของ iBiology (https://www.ibiology.org/)

บทที่ 2 เซลล์

สร้างภาพขั้นเทพ

เราสามารถทำภาพประกอบทางชีววิทยา โดยเฉพาะระดับเซลล์ได้โดยง่ายจากบริการของ BioRender.com

ซึ่งมีบริการฟรีเพื่อใช้ในการศึกษา และบริการที่คิดค่าบริการเพื่อนำภาพคุณภาพสูงไปใช้งานต่อ ซึ่งรวมถึงเพื่อการตีพิมพ์ในวรสารวิชาการ

โดย ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ทางเว็บไซต์แสดงค่าบริการแบบต่าง ๆ ไว้บนเว็บไซต์ทางเมนู Pricing พร้อมกับข้อมูลประกอบว่าในแต่ละรูปแบบจะได้อะไรบ้างประกอบการตัดสินใจ

บน YouTube ก็มีช่องของ BioRender รวมถึงคลิปแนะนำ BioRender รวมถึงข้อดีต่าง ๆ (https://youtu.be/wZlchXEvG6o)

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

กว่าจะมาเป็นเลือดที่เรารู้จัก

การอุบัติขึ้นของเลือด เกิดขึ้นได้อย่างไร

วิดีโออธิบายที่มาที่ไปของเลือด และโปรตีนในเลือด ที่ทำให้เลือดมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงเหมือนเลือดของคนเรา เป็นต้น

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

Cells at Work

Hataraku Saibou 2018

นิทานชีวิต 4.0

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 เซลล์

อุณหภูมิของไมโตคอนเดรีย

นักวิจัยใช้สารเรืองแสงที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกับไมโตคอนเดรียในเซลล์ และพบว่าไมโตคอนเดรียปล่อยความร้อนออกมาจากการทำงานของมัน อุณหภูมินี้จะเปลี่ยนไปเมื่อเพิ่มหรือลดการทำงานของไมโตคอนเดรีย

WPBiology_200px

Link: http://journals.plos.org/plosbiology/article?id=10.1371/journal.pbio.2003992

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

มะเร็งที่แพร่ระบาดได้

14902260469961.jpg

ตัวแทสมาเนียนเดวิล คงไม่อยากกัดกันแล้วเป็นมะเร็ง แต่โรค Devil Facial Tumour Disease (DFTD) กำลังทำให้ประชากรของสัตว์ชนิดนี้ลดลงไปเรื่อย ๆ

ปกติแล้วมะเร็งไม่แพร่ระบาดแบบโรคติดต่อ เพราะเซลล์มะเร็งจะมีผิวเซลล์ที่หลอกภูมิคุ้มกันของตัวเองได้ แต่หลอกตัวอื่นไม่ได้ ดังนั้นเมื่อสัตว์ได้รับเซลล์มะเร็งจากสิ่งมีชีวิตตัวอื่น ระบบภูมิคุ้มกันจะเห็นมันเซลล์แปลกปลอม และทำลายได้

แต่เซลล์ของ DFTD ไม่มีผิวเซลล์ที่ภูมิคุ้มกันจะจำได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ตัวไหน มันจึงแพร่ระบาดได้เมื่อแทสมาเนียนเดวิลกัดใบหน้ากัน ก็จะได้รับเซลล์มะเร็งของตัวที่เป็นอยู่เข้าไป และเมื่อเป็นแล้วก็มักจะตายภายในไม่กี่เดือน แทสมาเนียนก็ไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมการกัดหน้ากัน ดังนั้นจึงทำให้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

แม้จะทำนายได้ว่ามันจะสูญพันธุ์ไปด้วยโรคนี้ กับการระบาดของโรคแบบนี้ แต่มันก็ยังไม่สูญพันธุ์ไป นักวิทยาศาสตร์พบว่าในบางประชากรที่เริ่มการพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็งนี้ขึ้นได้

นักวิทยาศาสตร์พยายามจะช่วยให้แทสมาเนียนอยู่รอดต่อไปด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการหาประชากรที่ไม่เป็นโรคมาเลี้ยง เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรที่ไม่เป็นโรค รวมถึงการทำวัคซีนถ้าเป็นไปได้

แทสมาเนียนเดวิลเอง มีวิวัฒนาการในการต่อสู้กับโรคนี้ไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม เช่นการที่เพศเมียมีลูกได้ตั้งแต่อายุยังน้อย (12 เดือน) ทำให้อย่างน้อยมันก็จะมีลูกได้ ก่อนที่จะเป็นโรค ดังนั้นหนทางรอดจากการสูญพันธุ์จากโรคมะเร็งที่แพร่ระบาดได้ในหมู่แทสมาเนียนเดวิล ก็อาจจะอยู่ที่ความสามารถในการปรับตัวและวิวัฒนาการของมันเองได้เช่นกัน

สู้ต่อไป…

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 เซลล์

หมูผสมเซลล์คน

งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Cell บอกว่านักวิทยาศาสตร์สร้างตัวอ่อนของหมูที่มีเซลล์ของมนุษย์ผสมอยู่ด้วยได้ แม้ว่าจะมีอัตราความสำเร็จในการทดลองค่อนข้างน้อยมาก และยังไม่ถึงขั้นทำให้เกิดหมูที่มีอวัยวะของมนุษย์เกิดมาได้จริง ๆ แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่มา: http://www.bbc.com/news/health-38717930

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 6 โครงสร้างและหน้าที่ในพืช, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ “ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สำหรับนักเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Balance_2008

เนื้อหาตามสารบัญ

บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข

1.1 เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์

1.2 การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

1.2.1 การแพร่

1.2.2 การออสโมซิส

1.2.3 การแพร่แบบฟาซิลิเทต

1.2.4 การลำเลียงสารโดยใช้พลังงาน

1.2.5 การลำเลียงสารขนาดใหญ่

1.3 กลไกการรักษาดุลยภาพ

1.3.1 การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช

1.3.2 การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

1.3.3 การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในสัตว์ต่างๆ

1.3.4 การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกายคน

1.3.5 การรักษาดุลยภาพของกรด-เบส ในร่างกายคน

1.3.6 การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย

บทที่ 2 อยู่อย่างปลอดภัย

2.1 การป้องกันและกำจัดเชื้อโรคของร่างกาย

2.1.1 ด่านแรก : ผิวหนัง

2.1.2 ด่านที่สอง : แนวป้องกันโดยทั่วไป

2.1.3 ด่านที่สาม : ระบบภูมิคุ้มกัน

2.2 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย

2.3 ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง