บทที่ 4 วิวัฒนาการ

วิวัฒนาการไปกับสังคมเมือง

นักวิทยาศาสตร์พบว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในเมืองของมนุษย์มีการวิวัฒนาการที่ช่วยให้อยู่รอดในเมืองได้ดีขึ้น

Link: http://www.bbc.com/news/science-environment-38519299

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ชีวิตใต้ทะเลมรณะ

รายงานใน National Geographic news แสดงให้เห็นว่าทะเลมรณะ (Dead Sea) ไม่ได้ไร้ชีวิตดังชื่อของมัน เพราะนักวิทยาศาสตร์ยังพบเจอสิ่งมีชีวิตได้หลากหลายโดยเฉพาะพวกจุลชีพ

นักวิทยาศาสตร์สังเกตุเห็นความผิดปกติบางอย่างที่ผิวน้ำ และคิดว่าน่าจะมีน้ำจืดผุดขึ้นมาจากใต้ทะเลมรณะ

การจะดำน้ำลงไปสำรวจใต้ทะเลมรณะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความหนาแน่นสูงของน้ำ อันเนื่องมาจากเมื่อครั้งอดีต ไม่มีน้ำไหลลงมาในทะเลนี้อีก และทะเลนี้ก็เป็นทะเลปิด น้ำจึงระเหยออกไปเรื่อยๆ ทิ้งไว้แต่สารเคมีที่ละลายอยู่ในน้ำ ให้มีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

นักประดาน้ำต้องใส่น้ำหนักเพิ่มกว่า 40 กิโลกรัมจึงจะสามารถดำน้ำทะเลมรณะเพื่อสำรวจก้นทะเลนี้ได้ และพบว่าเบื้องล่างมีแอ่งกว่า 30 แห่ง แต่ละแห่งมีขนาดกว้างกว่า 10 เมตรและอาจลึกลงไปอีกกว่า 13 เมตร

การสำรวจทำด้วยความยากลำบากเพราะความขุ่นของน้ำอันเนื่องมาจากความเข้มข้น แต่เมื่อดำสำรวจแอ่งพวกนี้ (หรือหลุม) จนเข้าใกล้บริเวณที่มีตาน้ำจืด จะมองเห็นได้ดีขึ้น เพราะน้ำจะใสกว่าน้ำทะเลมรณะทั่วไป

นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสิ่งมีชีวิตพวกจุลชีพอาศัยอยู่ในบริเวณนี้เช่นกัน และอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่กันด้วย เพราะมันจะต้องเป็นพวกที่สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของความเค็มได้อย่างรวดเร็ว ในในเวลาหนึ่งมันอาจมีน้ำเค็มจัดล้อมรอบอยู่ แต่เมื่อกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง พวกมันอาจมีแต่น้ำจืดล้อมรอบตัวมันอยู่ก็ได้

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักแล้วบนโลก ไม่มีจุลชีพใดที่จะมีชีวิตอยู่ได้ในลักษณะแบบนี้ เพราะพวกที่คนเค็มจัดได้จะตายทันทีที่เอาไปใส่ในน้ำจืด ส่วนพวกที่อยู่ในน้ำจืดก็จะตายทันทีหลังจากที่เอามันไปใส่ในน้ำเค็ม

ในอนาคตเราคงได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตสองน้ำพวกนี้มากขึ้นต่อไป

ผู้วิจัยไม่ได้ชวนทุกคนไปดำน้ำสำรวจด้วย เพราะจะลำบากหลายอย่าง แม้ว่าผลตอบแทนอาจเป็นเรื่องน่าระทึกใจอยู่ไม่น้อย การดำน้ำในทะเลมรณะจำเป็นต้องใส่หน้ากากแบบปิดหน้าทั้งหมด เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อที่อ่อนแออย่างเช่นดวงตา และเยื่อบุและอวัยวะในปากและคอ ที่หากกินน้ำทะเลมรณะเข้าไป คออาจจะบวมจนหายใจไม่ออกได้

ที่มา: New Life-Forms Found at Bottom of Dead Sea

New Life-Forms Found at Bottom of Dead Sea.

บทที่ 6 โครงสร้างและหน้าที่ในพืช

ทดสอบพืชทนความร้อน

ในการทดสอบผลของอุณหภูมิต่อการปรับตัวของพืช นักวิทยาศาสตร์อาจใช้ห้องควบคุมอุณหภูมิและปัจจัยอื่นๆช่วยในการศึกษา เริ่มจากการปลูกพืชในเรือนเพาะในภาวะปกติ จากนั้นนำไปเลี้ยงต่อในห้องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และแสง จากนั้นในชุดที่ต้องการทดสอบการทนความร้อน ก็ให้นำไปเลี้ยงในภาพวะที่อุณหภูมิสูงกว่าปกติ เช่นที่ 42 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 32 ชั่วโมง หรือจนกว่าใบทุกใบจะม้วนงอ และมีบางใบที่อาจจะตายไป จากนั้นพืชจะถูกนำมาเลี้ยงต่อในภาวะปกติเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงต่อไป

ที่มา: A pair of orthologs of a leucine-rich repeat receptor kinase-like disease resistance gene family regulates rice response to raised temperature.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย

พืชที่ฝังเมล็ดลงดินไปเลย

ข่าวของการค้นพบพืชชนิดใหม่ในบราซิลที่รายงานวารสาร PhytoKeys โดยนักพฤกษศาสตร์มืออาชีพ ที่ทำงานร่วมกันกับนักพฤกษศาสตร์สมัครเล่น

พืชชนิดใหม่นี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spigelia genuflexa ที่จะฝังฝักหรือผลของมันลงไปในดินหรือกองมอสใกล้ๆ โดยการปล่อยให้กิ่งที่มีผลโค้งงอลงไปหาพื้นดิน

ผู้ค้นพบคือนายอเล็ก โปปวอฟกิน ชาวรัสเซียที่พบว่าตนมีความฝันที่จะศึกษาและรวบรวมพืชในเขตร้อน จึงย้ายบ้านมาอยู่ที่บราซิล และเก็บตัวอย่างกันไปแล้วกว่าแปดเก้าร้อยชนิด และได้เพื่อนของตนเอาพืชชนิดนี้มาให้ศึกษา ซึ่งต่อมาร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์จากอเมริกา จนพบว่ามันเป็นพืชชนิดใหม่ในที่สุด

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าลักษณะเช่นนี้เป็นการปรับตัวเพื่อให้ลูกหลานของมันอยู่รอด มันไม่ต้องกลัวเรื่องการแย่งอาหารกันกับลูก เพราะมันมีอายุสั้น

การให้เมล็ดอยู่ที่เดิมยังทำให้ลูกมีโอกาสรอด แทนที่จะปล่อยให้เมล็ดแพร่ไปยังที่ที่ไม่รู้ว่าลูกจะรอดไหม ในที่ที่ห่างออกไป ซึ่งเป็นการปรับตัวแบบที่พบได้ในพืชที่ขึ้นตามหน้าผา ที่จะมีการปรับตัวแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้ลูกรอดในซอกหินที่ตัวเองอยู่ได้

พืชชนิดนี้อยู่ในวงศ์เดียวกันกันเกราในบ้านเรา (Loganiaceae)

ที่มา: BBC Nature – New species of genuflecting plant buries its own seeds.

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

บ้านลับของเต่ากระ

BBC Nature – ‘Hidden’ hawksbill turtles found. งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Biology Letters กล่าวถึงความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเต่าทะเลทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกว่าพวกเขาประสบปัญหาในการจะจับเต่ากระ (hawkbill turtle; Eretmochelys imbricata) ที่ใกล้สูญพันธุ์ (endanger) มาติดเครื่องติดตามผ่านดาวเทียม (satellite tracking) แม้ว่าจะใช้ทั้งคนปกติ และพวกลับลอบเก็บไข่เต่ามาช่วยแล้วก็ตาม จนกระทั่งพวกเขาไปเจอบ้านลับของพวกมัน

ผู้วิจัยพบว่าเต่ากระไปอาศัยอยู่ในป่าชายเลน (mangrove) ที่ซึ่งปกติไม่ใช่ที่ที่จะพบเต่ากระ และพอมันไปอยู่ในป่าชายเลนก็ยิ่งทำให้พบเจอยากขึ้นไปใหญ่ พวกเขาสัณนิษฐานว่านี่เป็นการปรับตัว (adaptation) ของเต่ากระในพื้นที่ที่แหล่งอาศัยปกติ ซึ่งก็คือแนวปะการัง (coral reef) นั้นหายากก็เป็นได้

หลังจากติดเครื่องติดตามตัวให้เต่ากระได้ นักวิทยาศาสตร์จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อการอนุรักษ์พวกมันต่อไป และการค้นพบบ้านลับของเต่ากระนี้ช่วยให้เราเห็นความสำคัญของป่าชายเลนมากขึ้นอีกด้วย

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

การรู้จำของนกพิราบ

BBC Nature – Pigeons ‘home in on friendly human feeders’. ในที่นี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของนกพิราบ (pigeon) ในเมือง ซึ่งเป็นลูกหลานของนกพิราบป่า (Columbia livia) ที่ปรับตัวเข้ากับชีวิตในเมืองที่เต็มไปด้วยผู้คนเป็นอย่างดี

มันเรียนรู้ที่จะเข้าหาคนที่ไม่ไล่มัน เพื่อที่จะลดเวลาในการหาอาหาร และเพิ่มเวลากินอาหารโดยไม่ถูกไล่ไปในตัว

นักวิทยาศาสตร์ในประเทศฝรั่งเศสทดลองให้คนไปให้อาหารนกกับคอยไล่นกอยู่ในคนละสวนสาธารณะ ปรากฎว่านกพิราบเมืองเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าควรเข้าหาใคร และเมื่อให้ผู้ทำการทดลองเปลี่ยนเสื้อผ้ากัน นกพิราบก็ทราบอยู่ดีว่าคนไหนคือคนที่มันควรหลีกเลี่ยง

การศึกษานี้แสดงว่านกพิราบได้จดจำคนที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แต่ใช้ลักษณะอื่นในการรู้จำคนที่พฤติกรรมพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ของพวกมันได้

งานนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Animal Cognition ให้พวกเราไปอ่านกัน เผื่อจะมาทดลองกับนกพิราบตามสวนสาธารณะบ้านเราบ้าง