บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ทำเหมืองใต้ทะเลลึก

Deep sea ‘gold rush’ moves closer http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-22546875

ในเวลาที่ทรัพยากรใต้พิ้นดินกำลังจะหมดภปเราควรเริ่มหาทรัพยากรอื่นจากใต้ทะเลกันหรือไม่

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

วิธีใหม่ๆในการกำจัดคราบน้ำมันบนทะเล

ซีชาร์ ฮาราดานำเสนอเกี่ยวการพัฒนาอุปกรณ์ของเขาเพื่อใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุในอ่าวเม็กซิโกเมื่อปี 2553 นอกจากนั้นเขายังเปิดเผยเรื่องการประดิษฐ์และการออกแบบเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะชนแทนที่จะไปเปิดบริษัทรับกำจัดคราบน้ำมันหากำไรเข้าตัวด้วย

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

การทำเหมืองจากน้ำทะเล

เดเมียน เพ ลิน นำเสนอเรื่องการสกัดแร่ธาตุจากน้ำทะเล ซึ่งมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเป็นแหล่งน้ำจืดสำหรับประเทศที่อาจล้อมรอบด้วยน้ำทะเล แต่ไม่มีแหล่งน้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภคด้วยเทคนิครีเวิร์สออสโอซิส (reverse osmosis)

บทที่ 5 ความหลากหลาย

โลกนี้มีสิ่งมีชีวิตกี่สปีชีส์

รายงานใน PLoS Biology เลือกประเด็นพื้นฐานหนึ่งที่นักชีววิทยาอยากทราบว่าโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตอยู่กี่ชนิด

นักวิทยาศาสตร์คงเห็นตรงกันกว่าแม้เราจะมีข้อมูลของสิ่งมีชีวิตกว่า 1.2 ล้านชนิดอยู่ในฐานข้อมูลอันเกิดจากการศึกษาวิจัยความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมาแล้วกว่า 250 ปี

ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ทางสถิติ การศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ และการสอบถามผู้เชียวชาญด้านอนุกรมวิธานของโลก ผู้ศึกษาวิจัยทำนายว่า สิ่งมีชีวิตในโลกนี้น่าจะมีถึง 8.7 ล้านชนิด โดยมีกว่า 2.2 ล้านชนิดที่จะอยู่ในทะเล

จากข้อมูลนี้ นักวิจัยอภิปรายว่ายังมีสปีชีส์ที่รอคอยการค้นพอีกมากในโลกนี้ และการศึกษาสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพก็ยังมีความสำคัญอยู่

ที่มา: PLoS Biology: How Many Species Are There on Earth and in the Ocean?.

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

น้ำแข็งที่หายไป

ก่อนหน้านี้เคยอ่านข่าวเกี่ยวกับธารน้ำแข็ง (glacier) ที่หายไปที่กรีนแลนด์ไปครั้งหนึ่งแล้ว ที่แม้ว่าจะทำใจไว้แล้ว แต่ก็ยังเป็นภาพที่น่าตกใจอยู่ดี

องค์กรอวกาศของยุโรป (European Space Agency) แสดงข้อมูลจากดาวเทียม Envisat ว่าน้ำแข็งบนทะเลใกล้แคนาดาและรัสเซียได้ละลายแล้วพร้อมกัน ซึ่งปริมาณน้ำแข็งที่ละลายหายไปในฤดูร้อนนี้อาจจะเป็นสถิติใหม่อีกครั้งตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลด้วยดาวเทียมจากปีค.ศ. 1979

การละลายของน้ำแข็งทำให้เกิดเส้นทางเดินเรือใหม่ เช่นเดียวกันกับการเปิดพื้นที่ใหม่ต่อการสำรวจทางวิทยาศาสตร์

แต่ในแง่สิ่งแวดล้อมมันก็แสดงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่นภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นและอาจจะแย่ขึ้นทุกขณะ

ที่มา: BBC News – Arctic sea routes open as ice melts.