บทที่ 8 นิเวศวิทยา

มลพิษทางอากาศกับภาวะโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances อธิบายถึงปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน ที่ดูเหมือนจะวนเวียนอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลานานเกินกว่าปกติที่การหมุนเวียนของอากาศควรช่วยกระจายมลพิษไปได้ในเวลาที่น้อยกว่านั้น

ผลการศึกษาเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ทำให้น้ำแข็งของทะเลอาร์กติกละลายมากกว่าปกติในปี ค.ศ. 2012 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และทำให้มลพิษทางอากาศของจีนในปีต่อมาไม่ไหลถ่ายเทไปไหนง่าย ๆ

Logo_Webmaster_100.jpg

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ผลิตผลเพิ่มพูนด้วยระดับน้ำใต้ดิน

sketch6183251.png

นักวิทยาศาสตร์รายงานวารสารทางวิทยาศาสตร์ว่าการเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน (water table) ซึ่งหมายถึงระดับของดินที่มีการอิ่มตัวด้วยน้ำ ที่อาจมีความลึกจากผิวดินลงไปไม่เท่ากันนั้น สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลทางการเกษตร และช่วยให้ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ไม่ให้ไปอยู่ในบรรยากาศ ป้องกันการเกิดภาวะโลกร้อนได้ดีขึ้นด้วย

ที่มา: http://www.bbc.com/news/science-environment-38861385

ระดับน้ำใต้ดินที่สูงเกินไปไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะรากพืชอาจเน่า หรือนำเกลือจากใต้ดินขึ้นมาที่หน้าดินได้ง่ายขึ้น

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

สถานีวัดอากาศทั่วโลกยืนยันภาวะโลกร้อน

ทีมวิจัยจากเบิร์กลีย์ใช้ข้อมูลจากสถานีวัดอากาศ 40,000 ที่ทั่วโลกที่มีข้อมูลสภาวะอากาศทั่วโลกที่เก็บไว้ในรูปข้อมูลดิจิตัล และทำให้สามารถวิเคราะห์อุณหภูมิของโลกเหนือผืนดินตั้งแต่ค.ศ. 1800 ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับผลการศึกษาเรื่องภาวะโลกร้อนว่า..

โลกร้อนขึ้นจริงๆ

ที่มา: BBC News – Global warming ‘confirmed’ by independent study.

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

น้ำแข็งที่หายไป

ก่อนหน้านี้เคยอ่านข่าวเกี่ยวกับธารน้ำแข็ง (glacier) ที่หายไปที่กรีนแลนด์ไปครั้งหนึ่งแล้ว ที่แม้ว่าจะทำใจไว้แล้ว แต่ก็ยังเป็นภาพที่น่าตกใจอยู่ดี

องค์กรอวกาศของยุโรป (European Space Agency) แสดงข้อมูลจากดาวเทียม Envisat ว่าน้ำแข็งบนทะเลใกล้แคนาดาและรัสเซียได้ละลายแล้วพร้อมกัน ซึ่งปริมาณน้ำแข็งที่ละลายหายไปในฤดูร้อนนี้อาจจะเป็นสถิติใหม่อีกครั้งตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลด้วยดาวเทียมจากปีค.ศ. 1979

การละลายของน้ำแข็งทำให้เกิดเส้นทางเดินเรือใหม่ เช่นเดียวกันกับการเปิดพื้นที่ใหม่ต่อการสำรวจทางวิทยาศาสตร์

แต่ในแง่สิ่งแวดล้อมมันก็แสดงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่นภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นและอาจจะแย่ขึ้นทุกขณะ

ที่มา: BBC News – Arctic sea routes open as ice melts.

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ธารน้ำแข็งที่หายไป

BBC News – ‘Gob-smacking’ scale of Petermann Glacier break-up. ต่อให้เตรียมใจไว้แค่ไหน หากเห็นภาพที่ไม่อยากเชื่อมันก็พูดไม่ออก นักธารน้ำแข็งวิทยา (glaciologist) เปรียบเทียบภาพธารน้ำแข็งปีเตอร์แมนน์ (Petermann) ของกรีนแลนด์ในปีค.ศ. 2009 กับปีค.ศ. 2011 แล้วพบว่าที่ที่เคยเป็นธารน้ำแข็ง ตอนนี้กลายเป็นน้ำทะเลใสแจ๋ว

ท่าจะแย่กันแล้วโลกเรา