บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ชีวิตแร้งแท้จริงแสนลำบาก

image

นักชีววิทยาผู้้เชี่ยวชาญเรื่องแร้งอย่างมูเนียร์ ไวรานี่ อยากให้พวกเรามองแร้งกันใหม่ว่ามันไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่น่าเกลียดหรือเลวร้าย แท้จริงแล้วมีประโยชน์ต่อเราและระบบนิเวศอย่างมหาศาล การกระทำของมนุษย์หลายอย่างส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชากรนกกินซากเหล่านี้ การอนุรักษ์เกิดขึ้นได้ยากหากพวกเราไม่ช่วยกัน ที่มา: Munir Virani: Why I love vultures #TED : http://on.ted.com/t1pW

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในประเทศไทย

พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในประเทศไทย

  • อุทยานแห่งชาติ (national park) เช่นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
  • วนอุทยาน (forest park) เช่นวนอุทยาภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (wildlife sanctuary) เช่นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (non-hunting area) เช่นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จังหวัดสงขลา
  • สวนพฤกษศาสตร์ (botanical garden) เช่นสวนสมเด็จพระนางเข้าสิริกิติ์
  • สวนรุกขชาติ (aboretum) เช่นสวนรุกขชาติมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

อุทยานแห่งชาติ

ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2415 (national park) เยลโล่สโตน (Yellowstone) ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ในประเทศไทยนั้น ในขณะนี้มีอุทยานแห่งชาติอยู่ 148 แห่ง ซึ่งตามหลักสากลแล้วต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติเกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2504 สนใจรายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ http://www.dnp.go.th/

อุทยานแห่งชาติเกิดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณนั้น ในบางประเทศหมายถึงพื้นที่ที่ไม่เคยมีการรบกวนโดยมนุษย์เลย แต่อาจเป็นไปไม่ได้เลยในหลายประเทศเช่นที่ประเทศอังกฤษ ที่แทบทุกพื้นที่มีมนุษย์เข้าไปใช้ประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

เสื้อชีตาห์กับชาวบ้าน

นักอนุรักษ์ในประเทศนามิเบีย (Namibia) ทดลองวิธีต่างๆเพื่อแก้ปัญหาระหว่างสัตว์ป่ากับชาวบ้าน โดยเฉพาะกับคนเลี้ยงปศุสัตว์รอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อ่านชื่อไม่ออกว่า N/a’an ku se ที่มักจะมีลูกวัวถูกกินไป บางคนถึงกับวางกับดักและฆ่าสัตว์ผู้ล่าเหล่านี้กันเลยทีเดียว

ในสไลด์โชว์ชุดนี้ เราจะได้เห็นนักวิทยาศาสตร์ติดปลอกคอเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวผ่านดาวเทียมให้กับชีตาห์ (chetah) และการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแมวใหญ่ผู้ล่าเหล่านี้ทำอะไรกันบ้าง มาสังหารลูกวัวไปกินจริอไม่ และเพื่อตอบคำถามว่าการฆ่าพวกมันเป็นทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดหรือไม่ด้วย

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสัตว์ที่หากินในบริเวณนี้มีชีตาร์พี่น้อง 1 คู่กับเสือดาว 1 ตัว ซึ่งเจ้าสามตัวนี้ก็ถูกนำไปปล่อยในบริเวณที่ห่างไกลขึ้น นอกจากนี้ยังแสดงด้วยว่าพวกมันไม่ค่อยได้มาล่าลูกวัวอย่างที่ชาวบ้านเข้าใจ

นักวิจัยหาทางปกป้องฝูงวัวจากผู้ล่านี้โดยใช้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่นการเลี้ยงลาในฝูงวัว โดยเมื่อล่ามีลูก แม่ลาจะคอยปกป้องลูก และในขณะเดียวกันก็ปกป้องลูกวัวไปด้วยเช่นกัน แม่ลาจะไล่ โจมตี หรือถึงขั้นเตะผู้ล่าให้ล่าถอยไปก็ได้

อีกวิธีหนึ่งคือการนำอึและฉี่ของสิงโตมาทาหรือป้ายไว้ที่ต้นไม้ หรือบริเวณที่ชีตาห์มาทำเครื่องหมายไว้ใกล้ฟาร์ม ก็อาจจะทำให้ชีตาห์เข้าใจว่ามีสิงโตอยู่ในบริเวณนี้และยอมย้ายแหล่งหากินไปที่อื่นได้

ที่มา: BBC Nature – In pictures: Keeping big cats at bay.

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

เต่าทะเลมีปัญหา

รายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS ONE แสดงให้เห็นถึงเต่าทะเล 11 ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ทราบอยู่แล้วว่าชนิดใดที่น่าจะใกล้สูญพันธุ์บ้าง แต่ในงานวิจัยใหม่นี่นักวิทยาศาสตร์ติดตามเต่าพวกนี้จนทราบว่าการกระจายตัวของมันอยู่ที่ไหน ตรงไหนเป็นที่ที่มันใช่วางไข่

ข้อมูลเหล่านี้ล้วนจำเป็นต่อการบริหารจัดการเพื่ออนุกรักษ์เต่าทะเลเหล่านี้ไว้

ที่มา: BBC Nature – In pictures: Turtles in trouble.

อ่านเพิ่มเติม: Plos One: Global conservation priorities for marine turtles

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

น้ำท่วมกับการกระจายตัวของพืช

น้ำท่วมมีผลต่อสิ่งมีชีวิตบ้างไหม? คำตอบก็คือต้องมีแน่นอน แล้วแต่ประเภทของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นว่าจะได้รับผลกระทบแบบไหน

ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ecological Applications นั้นนักวิทยาศาสตร์ศึกษาการเกิดประชากรของพืชท้องถิ่นชื่อคอทตอลวู๊ด (cottonwood) ชนิด Populus deltoides

สิ่งที่นักวิทยาสังเกตุพบในแต่ละพื้นที่ที่มีประชากรของพืชที่ขึ้นอยู่ริมน้ำนี้ เกิดขึ้นแตกต่างกันจากผลของปริมาณน้ำในแต่ละปี เช่นหากมีปริมาณน้ำมาก แนวของประชากรพืชก็จะขึ้นไปสูงกว่าปกติ หากแนวของระดับน้ำต่ำ ก็จะเห็นแนวของประชากรที่ต่ำกว่าตามไปด้วย

ขนาดประชากรและการกระจายตัวของพืชที่ขึ้นอยู่กับน้ำท่วมไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำ ความถี่ของการท่วม ระยะเวลาของการท่วม

การจัดการควบคุมน้ำท่วมส่งผลต่อการเกิดประชากรของพืชตามธรรมชาติได้ เช่นการสร้างแนวกันน้ำท่วม จะทำให้พืชไม่สามารถเกิดเป็นประชากรได้ในบริเวณนั้น แต่ถ้าบริเวณนั้นเป็นชุมชนเมืองก็คงไม่มีสิทธิเกิดเป็นประชากรได้อยู่แล้ว แต่ทั้งนี้หากมองในแง่การอนุรักษ์ และความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำท่วมก็มีส่วนช่วยการแพร่กระจายและอยู่รอดของพืชพวกนี้เช่นกัน

อ้างอิง: Flood dependency of cottonwood establishment along the Missouri river.

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ไม่มีอะไรจะมาทดแทนป่าไม้ตามธรรมชาติได้

นักวิจัยนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบในวารสาร Nature ว่าหากต้องการจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ เราต้องรักษาป่าตามธรรมชาติไว้ให้ได้ เพราะไม่มีอะไรจะมาทดแทนป่าไม้เหล่านี้ที่ต้องใช้เวลาหลายร้อยหลายพันปีในการพัฒนาขึ้นมา ทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งในแง่ของบริการเชิงนิเวศที่เราได้รับ

ไม่ต้องพูดอะไรกันมากอยู่แล้ว จงทำ

ที่มา: BBC News – ‘No substitute’ for virgin forest.