บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

แมงมุมเป็นนักล่าแมลง

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาแมงมุม (spider) เป็นอาชีพ มีชื่อเรียกว่า arachnologist ในขณะที่คนที่กลัวแมงมุมจะเรียกว่า arachnophobia นักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เสนอว่าแมงมุมทั่วโลกน่าจะช่วยกันกินแมลง 400-800 ล้านตันในแต่ละปี

Spider_small_2012

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

หอยเต้าปูนใช้อาวุธเคมีอย่างอินซูลิน

http://www.iflscience.com/plants-and-animals/killer-cone-snails-drug-prey-weaponized-insulin

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

วิวัฒนาการของการขว้าง

รายงานการศึกษาใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการขว้างสิ่งของ แท้จริงแล้วอาจเริ่มเกิดขึ้นและพัฒนามากขึ้นเมื่อกว่าสองล้านปีที่แล้วที่มนุษย์เริ่มล่าสัตว์อื่นมากขึ้น

ที่มา: http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-23061016

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

พฤติกรรมเพนกวินอเดลล่าเหยื่อเชิงลึก

นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นรายงานการศึกษาพฤติกรรมล่าเหยื่อเพนกวินอเดลในวารสาร PNAS ว่าด้วยการใช้การถ่ายวีดิทัศน์ตามปกติ ร่วมกับการใช้เครื่องวัดความเร่ง (accelerometer) ที่ปัจจุบันก็มีขนาดเล็กพอที่จะติดสองเครื่องในเพนกวินตัวเดียวได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์บอกพฤติกรรมที่ได้มาจากเครื่องมือวัดความเร่งที่ติดนี้ว่าเพนกวินขยับหัวกับปากอย่างไรเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การล่าเหยื่อสองชนิดหลักอันได้แก่คริลและปลาขั้วโลกมีลักษณะแตกต่างกัน เมื่อดูคลิปพฤติกรรมเทียบกับข้อมูลที่อ่านได้จากเครื่องวัดความเร่งทำให้นักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่าเพนกวินอเดลว่ายน้ำเข้าหาเหยื่อและงับเหยื่อตอนไหน แม้กระทั่งจะบอกว่ามันกินคริลวินาทีละสองตัวก็ทำได้เหมือนกัน ในขณะที่ปลาขั้วโลกพรางตัวกับแผ่นน้ำแข็ง แต่ดูเหมือนไม่มีผลต่อเพนกวินอเดลที่ตรงเข้าไปจับพวกมันมากินได้เหมือนระบบพรางตัวไม่มีผลอะไร

ที่มา: BBC Nature – Cameras reveal penguins’ efficient hunting techniques.

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ทำไมต้องล่าสัตว์เลี้ยงกิน

การศึกษาพฤติกรรมการล่าของชีตาร์แห่งเอเซีย (asian cheetah) จำเป็นต้องล่าสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงกินเป็นอาหารก็เพราะว่าเหยื่อตามธรรมชาติของมันมีน้อยลงนั่นเอง

ที่มา: BBC Nature – Asiatic cheetahs forced to hunt livestock.

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

เทคนิคการล่าเหยื่อของเหยี่ยวนกเขา

นักวิทยาศาสตร์รายงานผลการศึกษาในวารสาร Current Biology เกี่ยวกับเทคนิคการล่าเหยื่อของเหยี่ยวนกเขา (goshawk) พบว่าพวกมันมักจะเล็งนกที่ดูแปลกแยกจากกลุ่ม หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า oddity effect

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการอยู่รวมกันเป็นฝูงของนกขนาดเล็ก เช่นฝูงนกเขา หรือฝูงนกพิราบ ช่วยป้องกันมันจากนกผู้ล่าได้ เพราะจะทำให้พวกมันสับสนไม่รู้จะจับตัวไหนดี และอาจจะพลาดจับไม่ได้สักตัว

นกผู้ล่าอาจพัฒนาเทคนิคการล่าโดยการเล็งนกบางตัวไว้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการล่าโดยลดอาการงงจากจำนวนของนกตัวอื่นๆที่ดูเหมือนๆกัน โดยการเลือกนกที่ดูแปลกกว่าชาวบ้าน

ในการศึกษานี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อเก็บตัวอย่างขนนกใกล้ๆรังของเหยี่ยวนกเขากว่าสามสิบกว่ารังทำให้พบว่ามีขนนกสีขาวกว่า 20% ของตัวอย่าง แม้ว่าในความเป็นจริงนั้นนกพิราบขาวในฝูงนกพิราบธรรมดามีความถี่เพียง 1.6% เท่านั้นเอง แสดงให้เห็นว่าเหยี่ยวนกเขาเจตนาเลือกนกที่แปลกที่สุดในฝูงเป็นเหยื่อ

เหยี่ยวนกเขาที่มีพฤติกรรมเช่นนี้น่าจะประสบความสำเร็จในการหาอาหาร และสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ดีกว่า มีฟิตเนสสูงกว่า

รังนกที่มีขนสีขาวใกล้ๆมักเป็นนกที่มีอายุมากกว่า แสดงให้เห็นว่านกพวกนี้พัฒนาเทคนิคการล่าแบบนี้เมื่อมันแก่ตัวขึ้นหรือมีประสบการณ์มากขึ้น

ลิงก์:

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

หอยเต้าปูน หอยนักล่า

รายการทีวี Great Barrier Reef ออกอากาศเป็นครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ทางสถานีโทรทัศน์ BBC Two แสดงภาพการล่าปลาแพะ (goatfish) เป็นอาหาร

หอยเต้าปูน (cone snail) ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดอย่าง Conus geographus อาจทำให้คนตายได้เลยทีเดียว (โอกาสรอด 30%) หอยเต้าปูนแต่ละชนิดสร้างสารพิษ (toxin) ได้กว่า 100 ชนิด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประมาณกันว่าน่าจะมีสารพิษรวมแล้ว 50,000 แบบที่หอยเต้าปูนสร้างขึ้นเพราะมันมักไม่ซ้ำกันเลย

ในทางการแพทย์และงานวิจัยทางชีววิทยาทางการแพทย์ สารพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต (เหยื่อของมันก็หลากหลาย ทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง และไม่มีกระดูกสันหลัง) มีงานวิจัยที่จะหายาแก้ปวดจากสารพิษของหอยเต้าปูน

ในแง่ของการอนุรักษ์ การค้าหอยเต้าปูนมีมูลค่าไม่มากนัก แต่ตัวอย่างหายากอาจมีราคาสูง หากเป็นเปลือกเวียนซ้าย ก็จะมีราคามากกว่าพวกเวียนขวาที่มีดาษดื่น นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาประชากรของหอยเต้าปูนอยู่ว่ามีแค่ไหน กระจายตัวอย่างไร เพื่อให้ทาง IUCN มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเรื่องการอนุรักษ์

ในสารคดีตอนนี้ หอยเต้าปูนจะบรรจุฉมวกอาบยาพิษของมันในงวง พิษที่มีจะทำให้ปลาเป็นอัมพาต (ปลาหลับอยู่) ในธรรมชาตินั้น หอยเต้าปูนอาจซ่อนตัวอยู่ในทราย คอยให้เหยื่อเข้ามาใกล้ สารพิษจะทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต และถูกกินทั้งเป็น

หอยเต้าปูนอาจมีมากกว่า 640 ชนิด ส่วนมากอาศัยในทะเลเขตร้อนในแนวปะการัง ซึ่งอยู่ในเขตน้ำตื้น แต่มีบางชนิดอยู่ในเขตน้ำลึกที่เรามักไม่ค่อยรู้จักอีกด้วย

ที่มา: BBC Nature – How a venomous cone snail catches and kills fish.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

วิธีการล่าเหยื่อของปลาแพะ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ethology แสดงผลการศึกษาพฤติกรรมการล่าเหยื่อของปลาแพะชนิด Parupeneus cyclostomus (yello saddle goatfish) ซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อน ซึ่งในที่นี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการร่วมมือกันในปลาที่ทะเลแดง (Red sea) นอกชายฝั่งของประเทศอียิปต์

นักวิทยาศาสตร์พว่าพวกมันจะล่าเหยื่อ โดยมีสมาชิกในฝูงคอยดักทางไม่ให้เหยื่อหนีไปได้ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตุเห็นอีกว่าสมาชิกในฝูงแต่ละตัวดูเหมือนจะมีหน้าที่เฉพาะของมัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่กันในการล่า และไม่ได้เกิดการแบ่งทีมแบบสุ่ม ตัวที่ไล่ก็จะไล่ ตัวที่คอยกันก็จะคอยกันในการล่าแต่ละครั้งที่เกิดขึ้น

น่าสนใจมากสำหรับปลาพวกนี้

ที่มา: BBC Nature – Reef fish live and hunt as a team.