บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

สำรวจประชากรผึ้งโดยภาคประชาชน

ลิงก์ Citizen bee survey’s surprise result http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-29122851

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

แมงกระพรุนระบาด

แมงกระพรุนจำนวนมากในทะเลใกล้ชายฝั่งที่เราไปเล่นน้ำกันไม่ใช่เพื่อเล่นที่เราต้องการเท่าไหร่ ทำไมประชากรแมงกระพรุนอาจเพิ่มขึ้นจนเป็นปัญหาเช่นนี้ นักชีววิทยาเข้าใจว่าปัจจัยทางนิเวศวิทยาเป็นสาเหตุหนึ่ง และสิ่งที่มนุษย์ทำก็มีส่วนเช่นกัน การจับปลาที่เป็นผู้ล่าของแมงกระพรุนออกจากโซ่อาหารทำให้ไม่มีใครควบคุมประชากรของมัน และแมงกระพรุนเองก็อาจจะกินไข่และลูกปลาที่มนุษย์ต้องการและเป็นผู้ล่าของมันเองอีกด้วย

ที่มา: UK issues Greece jellyfish warning http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-23243759

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ประชากรไทย

Thailand_Population_20130311

จำนวนประชากรไทย ณ วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2556 อยู่ที่ 64.5 ล้านคน ถ่ายภาพนี้จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ประชากรปลาแมคเคอเรลกำลังมีปัญหา

สมาคมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลขอยุโรปประกาศว่าขณะนี้สถานการณ์ประชากรปลาแมคเคอเรล (mackerel) ไม่สู้ดีนัก และเสนอว่าไม่ควรจับมันมากินกันเป็นล่ำเป็นสันเหมือนแต่ก่อน ควรหันไปกินปลาอื่นเช่นเฮอร์ริ่งหรือปลาซาร์ดีนแทนที่มีประชากรขนาดเหมาะสมสำหรับจับเพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืน

BBC News – Dispute means mackerel is no longer catch of the day.

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ฅนนับฅน

นิทรรศการ “ฅนนับฅน” ที่สถาบันวิจัยประชาการและสังคม ม.มหิดล ศาลายา และภาพหน้าจอจากเว็บไซต์ http://www.worldometers.info

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

โลกเราในวันนี้

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ

image

เว็บไซต์ http://www.worldometers.info

บทที่ 3 พันธุศาสตร์

การเจริญพันธุ์ของผู้บุกเบิก

Pregnant_200px_20111027_01ในวารสาร Science มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ของประชากรผู้บุกเบิก (pioneer) โดยประชากร Charlevoix and Saguenay Lac Saint-Jean แห่งประเทศแคนาดา ที่มีข้อมูลการแต่งงานและลูกหลานของคนในชุมชนที่สมบูรณ์มาก

เมื่อวิเคราะห์ดู นักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้หญิงประชากรรุ่นบุกเบิกมีการเจริญพันธุ์สูงกว่า หรือมีลูกมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรรุ่นหลังๆ

เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์อื่นเช่นคางคก ประชากรที่ขอบของประชากรจะมีลักษณะที่ทำให้ดำรงชีวิตได้ดีกว่า ลักษณะนี้จะถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก เช่นเดียวกับที่เราเห็นได้จากประชากรรุ่นลูกต่อจากรุ่นบุกเบิก ที่จะยังมีการเจริญพันธุ์สูงกว่า

เป็นไปได้ที่ประชากรรุ่นบุกเบิกและรุ่นต่อๆมามีทรัพยากรที่ดี ทำให้มีการเจริญพันธุ์สูงกว่ารุ่นหลังๆ

นอกจากนี้ยังใช้อธิบายได้อีกเช่นกว่า ปรากฎการณ์ประชากรก่อตั้ง (founder effect) จึงส่งผลให้ประชากรมีความถี่ของยีนที่หายาก เช่นโรคบางโรคมากกว่าประชากรทั่วไป นั่นก็เป็นเพราะอัตราการเจริญพันธุ์ที่สูงกว่าของประชากรรุ่นบุกเบิกนี้นี่เอง

ที่มา: