บทที่ 1 สารเคมีแห่งชีวิต

น้ำบนโลกมาจากไหน

น้ำ (water) เป็นสารเคมีแห่งชีวิต นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าที่ใดมีน้ำ ที่นั่นน่าจะมีชีวิต และเมื่อศึกษาดาวเคราะห์ต่างๆ การหาว่าดาวเคราะห์ดวงนั้นมีน้ำอยู่หรือไม่จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

โลกมีน้ำส่วนใหญ่อยู่ในสถานะของเหลว (liquid) ทั้งนี้เพราะอุณหภูมิของโลกเหมาะสม และน้ำเองก็มีคุณสมบัติที่จะเป็นของเหลวในช่วยอุณหภูมิที่กว้างมากเช่นกัน

เราทราบว่าโลกปกคลุมด้วยน้ำถึง 2/3 ของผิวโลก แต่น้ำบนโลกในตอนแรกมาจากไหน?

นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าน้ำบนโลกอาจจะมาจากนอกโลก เช่นจากอุกกาบาตก็ได้ แต่จะพิสูจน์อย่างไร? ทำให้ไม่ค่อยมีใครคิดว่าน้ำบนโลกมีที่มาจากนอกโลก

การวิเคราะห์น้ำด้วยกล้องจากยาน Herschel ดังผลที่รายงานในวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าดาวหางที่ศึกษาอย่างเช่น Hartley 2 มีน้ำแบบเดียวกับที่มหาสมุทรของโลกมี ทำให้แนวคิดที่ว่าน้ำบนโลกอาจจมาจากดาวหางนอกโลกจึงเป็นไปได้ขึ้นมามากขึ้น

การวิเคราะห์หาดิวเทอเรียม (deuterium) ซึ่งเป็น้ำที่มีไฮโดรเจนไอโซโทปแบบหายากอยู่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบน้ำที่พบตามที่ต่างๆได้ และในขณะที่วัตถุท้องฟ้าหลายอย่างมีสัดส่วนของไฮโดรเจนแบบปกติกับดิวเทอเรียนแตกต่างจากน้ำในมหาสมุทรบนโลกเรา ดาวหางอย่าง Hartley 2 กลับมีสัดส่วนเดียวกับน้ำในมหาสมุทรบนโลก

ที่มา: BBC News – Comet’s water ‘like that of Earth’s oceans’.