บทที่ 5 ความหลากหลาย

พบผึ้งที่คิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

แต่ในความเป็นจริงมันไม่ได้สูญพันธุ์ไป แต่จะไปโทษคนที่บอกว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่ถูก เพราะเราไม่เจอมันมาเป็นเวลานานมาก

ผึ้งชนิด Halictus eurygnathus ถูกคนบันทึกไว้ครั้งสุดท้ายเมื่อ 65 ปีที่แล้ว ดังนั้นการที่จะไม่พบมันอีกเลยในหลายสิบปี ก็ทำให้เข้าใจว่าสูญพันธุ์ได้

เราคงอยากให้ความเข้าใจผิดนี้เกิดขึ้นบ่อยๆกับสัตว์ที่เราคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

การสำรวจทุ่งหญ้าและสุมทุมพุ่มไม้ที่เซาท์ดาวน์ในเมืองซัสเซ็กซ์ (South Downs, Sussex) ในประเทศอังกฤษยังได้พบอีกหลายสปีชีส์

ผึ้งชนิด Halictus eurygnathus ถูกพบว่าหากกินอยู่กับพืชหลักๆชนิด Centaurea scabiosa (greater knapweed) เป็นไปได้ว่าความอยู่รอดของสปีชีส์จะขึ้นอยู่กับพืชนิดนี้

ผึ้งอีกชนิดหนึ่งก็หายากและคิดว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วเช่นกัน ชื่อ Andrena hattorfiana ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการเสียงแหล่งอาศัย ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าบนหินชอล์กของเซาท์ดาวน์ไป

ผู้วิจัยบ่นว่าการสำรวจยังมีความจำเป็นและสำคัญอยู่ แต่มักไม่มีใครให้ทุนศึกษาสำรวจ

ที่มา: BBC News – Sussex South Downs is home to ‘extinct’ bee species.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

กำเนิดสัตว์ฟันแทะในอเมริกาใต้

ฟันของสัตว์ฟันแทะที่พบจากประเทศเปรูมีอายุถึง 41 ล้านปี ซึ่งทำให้มันเป็นหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ฟันแทะที่เก่าแก่กว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดไว้เกือบเป็นสิบล้านปีว่ามาจากแอฟริกา

ในรายงานในวารสาร The Royal Society Journal Proceedings B นำเสนอผลการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ที่พบ เปรียบเทียบวิเคราะห์เชิงวงศ์วานวิวัฒนาการ (phylogenetic) แสดงให้เห็นว่าสัตว์ฟันแทะในอเมริกาใต้มีต้นกำเนิดอยู่ในแอฟริกา

พวกมันอาจเดินทางมาถึงอเมริกาใต้โดยล่องลอยมากับพืชหรือขอนไม้ก็ได้

ที่มา: BBC News – Tiny fossil teeth re-write rodent record.

อ่านเพิ่มเติม: Middle Eocene rodents from Peruvian Amazonia reveal the pattern and timing of caviomorph origins and biogeography.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

ตัวเมียร์แคทรู้จักเสียงของตัวอื่น

นักวิทยาศาสตร์รายงานการศึกษาในวารสาร Biology Letters เกี่ยวกับการศึกษาการรู้จำเสียงของตัวเมียร์แคท (meerkat) ชนิด Suricata suricatta แห่งทะเลทรายคาลาฮารี ประเทศแอฟริกาใต้ โดยการทดลองง่ายๆ ที่เปิดเสียงของเมียร์แคทตัวนึงให้ตัวอื่นๆฟัง

ปกติแล้วเราทราบว่าไพรเมตรู้จำเสียงของอีกตัวหนึ่งได้ แต่งานวิจัยกับสัตว์อื่นๆกำลังเพิ่มจำนวนขึ้น และการทดลองง่ายๆแค่เปิดเสียงนี้ก็อาจจะทำให้การศึกษาแนวนี้เพิ่มมากขึ้น

นักวิจัยอัดเสียง และเปิดเสียงให้ตัวเมียร์แคทที่กำลังหาอาหารอยู่ฟัง เสร็จแล้วก็เปิดเสียงเดียวกันนั้นด้วยลำโพงด้านตรงข้าม ซึ่งถ้ามันจำได้ว่าเสียงใครเป็นเสียงใคร มันจะต้องตกใจที่ว่าเจ้าตัวที่เมื้อกี้อยู่ทางด้านซ้าย ย้ายในพริบตาไปอยู่ทางด้านขวาได้อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์ก็พบว่ามันถึงกับหยุด ตื่นตัว ตั้งใจฟัง หรือหันไปมองกันเลยทีเดียว

เมื่อปีค.ศ. 2008 ก็มีนักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์การศึกษาเรื่องการรู้จำเสียงของกันและกันในม้า (Equus caballus) ในวารสาร PNAS ด้วยเช่นกัน

ที่มา: BBC Nature – Meerkats recognise others’ voices.

อ่านเพิ่มเติม:

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

แอบฟังปลาปิรันย่าคุยกัน

นักวิทยาศาสตร์รายงานในวารสาร Journal of Experimental Biology ว่าพบการสื่อสารด้วยเสียงในปลาปิรันย่าท้องแดง (red-bellied piranha) ชนิด Pygocentrus nattereri

เมื่อใช้ไมโครโฟนใต้น้ำและถ่ายวีดิโอไปด้วย พวกเขาพบว่าปิรันย่าในตู้ส่วนใหญ่ก็ว่ายน้ำผ่านไปผ่านมากันแต่โดยดี ไม่มีเสียง แต่พอมันจะส่งเสียง นักวิทยาศาสตร์บันทึกได้ถึงสามแบบ แต่ละแบบก็มีความหมายที่แตกต่างกันดังที่เราได้เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในขณะเกิดเสียงนั้น

แบบแรกเหมือนเสียงเห่า จะเกิดขึ้นเมื่อจะมีการเผชิญหน้ากัน แต่ก็ไม่ได้สู้กัน คงเพราะหากใช้เสียงขู่ได้สำเร็จ ก็ประหยัดพลังงานและเสี่ยงน้อยกว่าการต่อสู้กันนั่นเอง แบบที่สองเป็นเสียงเหมือนกลอง เกิดขึ้นเมื่อมันไล่กัน และเสียงเหมือนร้องในลำคอที่เกิดขึ้นเมื่อมันกัดกันเพื่อแย่อาหาร

มันสร้างเสียงจากการสั่นกระเพาะลม (swim bladder) การศึกษากล้ามเนื้อที่ทำให้กระเพาะลมมันสั่นพบว่ากล้ามเนื้อหดตัวถี่ถึง 150 ครั้งต่อวินาที ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งศึกษากล้ามเนื้อที่ค้างคาวใช้ในการสร้างเสียงโซนาร์ของมันว่าต้องสั่นถึง 190 ครั้งต่อวินาทีที่จุดที่มันต้องคลื่นเสียงความถี่สูงสุด

การศึกษาต่อไปอาจนำทีมวิจัยไปแม่น้ำอเมซอนเพื่อศึกษาการสื่อสารกันด้วยเสียงของปลาในธรรมชาติจริงๆต่อไป

ที่มา: BBC Nature – Piranhas communicate with sound, say researchers.

อ่านเพิ่มเติม:

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

เสื้อชีตาห์กับชาวบ้าน

นักอนุรักษ์ในประเทศนามิเบีย (Namibia) ทดลองวิธีต่างๆเพื่อแก้ปัญหาระหว่างสัตว์ป่ากับชาวบ้าน โดยเฉพาะกับคนเลี้ยงปศุสัตว์รอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อ่านชื่อไม่ออกว่า N/a’an ku se ที่มักจะมีลูกวัวถูกกินไป บางคนถึงกับวางกับดักและฆ่าสัตว์ผู้ล่าเหล่านี้กันเลยทีเดียว

ในสไลด์โชว์ชุดนี้ เราจะได้เห็นนักวิทยาศาสตร์ติดปลอกคอเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวผ่านดาวเทียมให้กับชีตาห์ (chetah) และการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแมวใหญ่ผู้ล่าเหล่านี้ทำอะไรกันบ้าง มาสังหารลูกวัวไปกินจริอไม่ และเพื่อตอบคำถามว่าการฆ่าพวกมันเป็นทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดหรือไม่ด้วย

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสัตว์ที่หากินในบริเวณนี้มีชีตาร์พี่น้อง 1 คู่กับเสือดาว 1 ตัว ซึ่งเจ้าสามตัวนี้ก็ถูกนำไปปล่อยในบริเวณที่ห่างไกลขึ้น นอกจากนี้ยังแสดงด้วยว่าพวกมันไม่ค่อยได้มาล่าลูกวัวอย่างที่ชาวบ้านเข้าใจ

นักวิจัยหาทางปกป้องฝูงวัวจากผู้ล่านี้โดยใช้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่นการเลี้ยงลาในฝูงวัว โดยเมื่อล่ามีลูก แม่ลาจะคอยปกป้องลูก และในขณะเดียวกันก็ปกป้องลูกวัวไปด้วยเช่นกัน แม่ลาจะไล่ โจมตี หรือถึงขั้นเตะผู้ล่าให้ล่าถอยไปก็ได้

อีกวิธีหนึ่งคือการนำอึและฉี่ของสิงโตมาทาหรือป้ายไว้ที่ต้นไม้ หรือบริเวณที่ชีตาห์มาทำเครื่องหมายไว้ใกล้ฟาร์ม ก็อาจจะทำให้ชีตาห์เข้าใจว่ามีสิงโตอยู่ในบริเวณนี้และยอมย้ายแหล่งหากินไปที่อื่นได้

ที่มา: BBC Nature – In pictures: Keeping big cats at bay.