บทที่ 8 นิเวศวิทยา

รถชนกวางมากขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง

กวางอาจทำให้เกิดอุบัติบนท้องถนนกว่า 74,000 ครั้งต่อปีในอังกฤษ  และข้อมูลยังแสดงว่าสถิติอุบัติเหตุกับกวางเหล่านี้มีมากขึ้นทุกปีในช่วงสิบที่ผ่านมา

จากการศึกษาพบว่าจำนวนอุบัติเหตุที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับจำนวนกวางที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของพวกกวางในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาเช่นกัน จนกระทั่งตอนี้มีกวางกว่าสองล้านตัว

กวางในอังกฤษมีหลายชนิด อย่างกวางแดง (red deer) อาจหนักถึง 90 กิโลกรัม หากใครไปชนมันก็ย่อมต้องมีความเสียหายแน่ๆ

สาเหตุอาจเกิดเพราะเวลาช่วงกลางวันที่สั้นลงในฤดูใบไม้ผลิ ทำให้เวลาผู้คนออกมาใช้ถนนตรงกับเวลาที่กวางออกมาทำกิจกรรมสำคัญของมันเช่นกัน ก็คือการเกี้ยวพาราสีเพื่อผสมพันธุ์

กลางตัวผู้จะวิ่งไล่ตัวเมีย ตัวเมียก็จะวิ่งนำไป อย่างไม่สนใจใครทั้งสิ้น ก็เลยวิ่งออกมาบนถนน หากรถที่วิ่งผ่านมาหลบตัวแรกไปได้ ก็อาจจะไปชนตัวอื่นๆต่อได้อีก ก็เลยเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่เพิ่มขึ้น

ที่มา: BBC News – Who, what, why: Why do deer cause more car crashes in autumn?.

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

แมลงช้างเพิ่มจำนวนขึ้นในอังกฤษ

แมลงช้าง (lacewing) เป็นแมลงในอันดับ Neuroptera ในระยะตัวอ่อนมันจะอาศัยอยู่ในทราย ขุดหลุมคอยดักแมลงเล็กๆกินเป็นอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นมด มันก็เลยได้อีกชื่อนึงในระยะเช่นนี้ว่า “antlion”

มันเป็นแมลงหายากในประเทศอังกฤษ ดังนั้นการพบว่าประชากรมันเพิ่มขึ้นจึงกลายเป็นข่าวขึ้นมาสำหรับที่นั่น

เมื่อปีค.ศ. 2005 นั้นพบว่าในป่าแถว Norfolk มีหลุมของพวกมันอยู่ประมาณ 700 หลุม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คิดว่าแมลงช้างพวกนี้คงมาอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว และคิดว่าอาจจะเจอมันน้อยลงหรือไม่เจออีกในอนาคต

แต่ในปีค.ศ. 2011 นี้มีรายงานการสำรวจพบ 1,905 หลุมเลยทีเดียว แสดงว่าแมลงช้าง Eurolean nostras นี้ได้แหล่งอาศัยที่เหมาะกับมันขึ้นมาแล้ว

พวกมันมีระบบย่อยอาหารที่มีประสิทธิภาพมาก มันขับถ่ายของเสียที่ไม่มีส่วนของแข็งเลย ตัวอ่อนมีขนาดไม่ใหญ่นัก แค่ 10 มม. ซึ่งจะขุดหลุมดักมดกินเป็นเวลาถึงสองปีก่อนที่จะกลายเป็นตัวเต็มวัยที่บินได้ มีปีกที่แผ่ไปได้ขึ้นตัวขนาด 7 ซม. แต่ก็จะมีชีวิตอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น

การพบพวกมันมากขึ้นนี้น่าจะมาจากแหล่งอาศัยที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ และมีต้นสนมากสำหรับเป็นที่จับคู่ผสมพันธุ์ของพวกมัน

ที่มา: BBC News – Antlion larvae colony thriving at Norfolk reserve.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

วาฬเพชรฆาตล่าแมวน้ำด้วยคลื่น

ช่างภาพของ BBC ถ่ายภาพการล่าแมวน้ำของวาฬเพชรฆาต Orcinus orca (killer whale) ไว้ได้ โดยพวกมันหลายๆตัวจะร่วมกันสร้างคลื่นน้ำ เพื่อที่จะชะเอาแมวน้ำที่นอนหลบภัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็งเล็กๆ

พฤติกรรมการร่วมกันใช้คลื่นน้ำในการชะเอาเหยื่อลงน้ำนั้นถูกพบเห็นมาตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1970 แต่ก็ไม่มีใครได้เห็นพฤติกรรมนี้อีกกว่า 30 ปีจนกระทั่งมีนักท่องเที่ยวถ่ายภาพพฤติกรรมเช่นนี้ไว้ได้ ทางทีมงานสารคดีชุด ‘Frozen Planet’ จึงออกติดตามวาฬเพชรฆาตกลุ่มนี้ ซึ่งก็ไม่ได้ง่ายนักเพราะพวกมันว่ายน้ำได้ไกลกว่า 300 กิโลเมตรต่อวันในการหาอาหาร

ทีมงานเฝ้ารอจนกระทั่งได้ภาพของฝูงวาฬถาโถมใส่แผ่นน้ำแข็งสร้างคลื่นน้ำชะเอาแมวน้ำลงทะเลมากินได้ถึง 22 ครั้ง ที่ซึ่งเกิดขึ้นกับแมวน้ำ 22 ตัว และดูเหมือนว่าจะไม่ใช่พฤติกรรมที่หาดูยากอย่างที่คิด

ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือพวกมันเล็งแต่แมวน้ำชนิดเวดเดล (weddell seal) ชนิด Leptonychotes weddellii ซึ่งก็ถือว่าไม่เลวเมื่อพวกมันมีจำนวนตัวมากมายกว่าแปดแสนตัว และเป็นอาหารมื้อง่ายสำหรับวาฬเพชรฆาตผู้หิวโหย

ที่มา: BBC Nature – Killer whales make waves to hunt seals.

บทที่ 5 ความหลากหลาย, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

หอยเชอรี่ในนาข้าว และนกปากห่าง

ในนาข้าวที่จังหวัดนครปฐมมีหอยเชอรี่อยู่กี่ตัวกัน? การสำรวจความหนาแน่นประชากรหอยเชอรี่ในผืนนาที่อำเภอคลองโยง และอำเภอสามพรานพบว่าประชากรของหอยเชอรี่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงตลอดระยะเวลาศึกษา

นักวิจัยไทยลงพื้นที่ศึกษาเจ้าหอยเชอรี่ Pomacea canaliculata เจ้าปัญหานี้แล้วพบว่าค่ามัธยฐานของจำนวนหอยเชอรี่ในพื้นที่ศึกษาหนึงอยู่ที่ประมาณ 55 ตัว ในขณะที่อีกทุ่งนาหนึ่งมีหอยเพียง 3 ตัวต่อ 20 ตารางเมตรเท่านั้นเอง ทำไมมันถึงต่างกันอย่างนี้?

การสำรวจนี้เกิดขึ้นในภาวะแวดล้อมธรรมชาติ ในท้องนาที่ยังมีเกษตรทำกรปลูกข้าวอยู่ตามฤดูกาลการทำนา การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ อาหาร สารเคมีในท้องนาเกิดขึ้นตามวิถีของมัน นอกจากนี้ยังมีผู้ล่า อย่างเช่นนกปากห่าง Anastomus oscitans (Asian openbill) ลงมากินหอยอีกด้วย

อ้างอิง

  • Sawangproh, W. and Poonswad, P. (2010), The population dynamics of Pomacea canaliculata (Lamarck, 1822) in relation to rice cultivation practice and seasons in Nakhon Pathom, Thailand. KKU Sci. J. 38(2): 228-238.
เกี่ยวกับเรา

การค้นหาป้ายกำกับด้วย Google

แม้ว่าจะดำเนินการเปิดเว็บบลอกนี้มาตั้งหลายเดือนแล้ว แต่จำนวนคนอ่านก็ยังไม่มากเท่าไหร่ เลยลองศึกษาผลการนำเอาป้ายกำกับในโพสต์ต่างๆไปค้นหาด้วย Google.co.th ดูสิว่าถ้ามีคนค้นหาคำเหล่านั้น แล้วจะปรากฎโพสต์จากบลอกนี้ในหน้าแรกด้วยอัตราเท่าใด

ชื่อเรื่อง ป้ายกำกับ วันที่ประกาศ อันดับบน Google.co.th
เปิดบลอกใหม่ thaibiology ข้อจำกัด, ชีววิทยา, ธีม, เว็บไซต์, ไทย 2011/08/29 ไม่พบ
บริษัทรับจำแนกสปีชีส์ด้วยสารพันธุกรรม จำแนกสปีชีส์, ดีเอ็นเอ, บริษัท, สารพันธุกรรม 2011/08/31 4
บรรณาธิการวารสารยอมลาออก การตีพิมพ์, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก, บรรณาธิการ, วารสารวิชาการ 2011/09/03 21
กว่าจะเดินบนสองขา กายวิภาค, การเดินบนสองขา, ชิมแพนซี, มนุษย์ 2011/09/04 ไม่พบ
พบฉลามสีฟ้ามากับกระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำอุ่น, ฉลาม, มหาสมุทรแอตแลนติก 2011/09/06 1
น้ำแข็งที่หายไป ขั้วโลกเหนือ, ทะเล, น้ำแข็ง, โลกร้อน 2011/09/09 ไม่พบ
บริการที่ได้รับจากระบบนิเวศ การบริการเชิงนิเวศ, การบริหารจัดการ, ความขัดแย้ง, สิ่งแวดล้อม 2011/09/13 ไม่พบ
ใช้พรินต์เตอร์เลเซอร์สามมิติสร้างเส้นเลือดเทียม เครื่องพิมพ์สามมิติ, เส้นเลือดเทียม 2011/09/18 1
จับนักวิทยาศาสตร์ไปขึ้นศาล นักวิทยาศาสตร์, ศาล, แผ่นดินไหว 2011/09/21 2
คนไฟลุก คนไฟลุก, วิทยา ตาสว่าง 2011/09/24 1
อาหารเจจะมีดีเอ็นเอสัตว์ได้อย่างไร ปนเปื้อน, อาหารเจ 2011/09/27 ไม่พบ
เรื่องที่ดาร์วินไม่เคยรู้ ดาร์วิน, วิวัฒนาการ, สารคดี 2011/09/29 ไม่พบ
เสียงคำรามของโคอาล่า กล่องเสียง.คำราม, การหาคู่, โคอาล่า 2011/10/01 1
ลิงบังคับแขนกลเสมือน คลื่นสมอง, สมอง, อัมพาต, แขนกล 2011/10/07 10
แฟนพันธุ์แท้ไลเคนส์ การประชุมวิชาการ, ความหลากหลาย, จังหวัดเลย, ประเทศไทย, ภูหลวง, ไลเคน 2011/10/12 24
หอยหนีน้ำ หรือมันมาสังสรรค์กัน รวมตัว, สังคม, หอยทาก 2011/10/15 ไม่พบ
ไอคิวกับพัฒนาการสมอง และการเรียนรู้ พัฒนาการ, ระดับเชาว์ปัญญา, วัยรุ่น, สมอง, ไอคิว 2011/10/20 11

ตารางแสดงชื่อเรื่อง ป้ายกำกับ (tag) วันที่ประกาศขึ้นอินเตอร์เน็ต และอันดับบน Google.co.th เมื่อใช้ป้ายกำกับอย่างน้อยสองป้ายในการค้นหา

Days_Onlined_and_Google_20111020

เมื่อพล็อตระหว่างจำนวนวันที่ออนไลน์ของแต่ละโพสต์กับอันดับบน Google.co.th (เลือกใช้เฉพาะโพสต์ที่มีอันดับจากการค้นหา) แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์แบบที่เมื่อโพสต์อยู่บนอินเตอร์เน็ตที่นานกว่าจะมีอันดับบน Google.co.th ที่น้อยกว่า (ซึ่งดีกว่า) แต่อาจไม่มีนัยสำคัญ

สรุป: ก็ยังไม่รู้อะไรมาก แต่ก็จะทำต่อไปเช่นเดิม

อ้างอิง:

บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ไอคิวกับพัฒนาการสมอง และการเรียนรู้

รายงานผลการวิจัยในวารสาร Nature แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับเชาว์ปัญญา (IQ หรือ Intelligence Quotient) ที่เปลี่ยนแปลงได้ตามพัฒนาการสมองของมนุษย์

เดิมทีนั้นเราจะวัดไอคิวเด็ก และจัดการการเรียนรู้ให้เหมาะสมเพราะถือว่าระดับเชาว์ปัญญานั้นค่อนข้างคงที่แล้ว แต่ในงานวิจัยนี้ ซึ่งศึกษาในวัยรุ่นคละเพศ อายุเฉลี่ย 14 ปี และศึกษาอีกครั้งตอนอายุ 18 ปีพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับเชาว์ปัญญาใน 39% ของผู้ร่วมการทดสอบ

การศึกษานี้วัดความสามารถทั้งที่เป็นภาษา (verbal) และไม่เกี่ยวกับภาษา (nonverbal) และพบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับเชาว์ปัญญาส่วนที่เกี่ยวกับภาษานั้นสัมพันธ์กับการเพิ่มความหนาแน่นของเปลือกสมองสั่งการซีกซ้าย (left motor cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูด ในขณะที่การเพิ่มของระดับเชาว์ปัญญาที่ไม่เกี่ยวกับภาษา จะมีสมองส่วนซีรีเบลลัม (cerebellum) ส่วนหน้าที่เพิ่มความหนาแน่นขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องการทำงานในการเคลื่อนไหวของมือ

ผลการศึกษานี้จะช่วยให้เราไม่ตัดสินระดับเชาว์ปัญหาของเด็กโดยไม่คำนึงถึงพัฒนาการของระดับเชาว์ปัญญาที่เกิดขึ้นได้

การศึกษาตัวอย่างที่มีการเพิ่มขึ้นของระดับเชาว์ปัญญาแสดงให้เห็นอีกว่าสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเชาว์ปัญญา เช่นในเด็กที่มีปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์ กลับกลายเป็นคนที่จะเป็นนักวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในอนาคตได้ เพราะระหว่างการเรียนนั้นได้พบกับสิ่งที่ชอบ และเปลี่ยนผันตัวเองจนเป็นคนเก่งคณิตศาสตร์กันได้เลยทีเดียว

ที่มา: BBC News – IQ ‘can change in teenage years’.

บทที่ 8 นิเวศวิทยา

การจับปลาทูน่าขาย

คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมรายงานว่ามีการจับปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ชนิด Thunnus thynnus (bluefin tuna) มากเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตให้จับอยู่มาก และการละเมิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในประเทศเหล่านี้ การจับปลาทูน่าจะมีโควต้าอยู่ เช่นในปีค.ศ. 2008 ได้อนุญาตให้จับปลาทูน่าได้ 29,082 ตัน (Total Allowable Catch) ในปีค.ศ. 2010 ตัวเลขนี้ถูกลดเหลือ 13,525 ตัน ทั้งนี้เพื่อให้จำนวนปลาที่จับนั้นเป็นปริมาณที่พอจะให้ประชากรปลาทูน่าในมหาสมุทรสามารถฟื้นตัวและคงอยู่ได้ ไม่หายไปในเวลาอันรวดเร็ว

นักวิทยาศาสตร์เห็นว่ารายงานผลการจับปลาทูน่านั้นต่ำกว่าค่าที่ได้ตั้งไว้ แต่ยังไม่เชื่อ จึงนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก ข้อมูลจากประเทศที่นำเข้าปลาทูน่า เช่นประเทศญี่ปุ่นมาศึกษาเปรียบเทียบ ทำให้เห็นว่าปลาที่จับจริงอาจเกินค่าโควต้าอยู่มากมายมหาศาล เช่นน้ำหนักปลาที่จับได้จริงในปี 2008 อาจเป็น 38,000 ตันจาก 29,082 ตันที่อนุญาต ในขณะที่ในปี 2010 อาจจับกันมากว่า 35,000 ตันแม้ว่าจะอนุญาตให้จับเพียง 13,525 ตันเท่านั้น

แน่นอนว่าคงเป็นความเห็นแก่ตัวที่ต้องหาทุนคืนของชาวประมง แต่ระบบนี้ได้กำหนดให้มีผู้สังเกตการณ์อยู่บนเรือได้อยู่แล้ว ก็ยังมีการรายงานที่ผิดพลาดกันขนาดนี้ได้

แต่อีกประการหนึ่ง การค้าปลาทูน่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากจับมันมาได้ในทันที เพราะพวกมันจะถูกลากมาในอวนขนาดใหญ่ และขุนให้อ้วนพีก่อนส่งขาย ทำให้ค่าเหล่านี้อาจคลาดเคลื่อนได้ ทำให้ไม่สามารถคำนวณน้ำหนักจากจำนวนตัวของปลาได้ แม้จะมีการให้นักประดาน้ำลงไปนับประมาณจำนวนปลาในน้ำแล้วด้วยก็ตาม

เราเคยคิดว่าปลาในทะเลคงมีมากมายและไม่หมดไป แต่คงเริ่มเห็นแล้วว่ามันก็หมดไปได้ ถ้ามันหมดไปจะกินอะไรกัน แต่ก็ยังมีคนไม่สนใจเพราะจะขอกินวันนี้ให้อิ่มอ้วนก่อน วันหน้าก็ช่างมัน…

ที่มา: BBC News – Med Bluefin tuna catch ‘unabated’.

อ่านเพิ่มเติม:

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

วิธีการล่าเหยื่อของปลาแพะ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ethology แสดงผลการศึกษาพฤติกรรมการล่าเหยื่อของปลาแพะชนิด Parupeneus cyclostomus (yello saddle goatfish) ซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อน ซึ่งในที่นี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการร่วมมือกันในปลาที่ทะเลแดง (Red sea) นอกชายฝั่งของประเทศอียิปต์

นักวิทยาศาสตร์พว่าพวกมันจะล่าเหยื่อ โดยมีสมาชิกในฝูงคอยดักทางไม่ให้เหยื่อหนีไปได้ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตุเห็นอีกว่าสมาชิกในฝูงแต่ละตัวดูเหมือนจะมีหน้าที่เฉพาะของมัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่กันในการล่า และไม่ได้เกิดการแบ่งทีมแบบสุ่ม ตัวที่ไล่ก็จะไล่ ตัวที่คอยกันก็จะคอยกันในการล่าแต่ละครั้งที่เกิดขึ้น

น่าสนใจมากสำหรับปลาพวกนี้

ที่มา: BBC Nature – Reef fish live and hunt as a team.