บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 8 นิเวศวิทยา

หอยหนีน้ำ หรือมันมาสังสรรค์กัน

Achatina_fulica_20111015_01

อ.ศศิวิมลถ่ายภาพหอยทากยักษ์แอฟริกัน (African giant snail) ที่ปีนกำแพงขึ้นมาเป็นฝูงบนกำแพงรั้วบ้านมาให้ดู แล้วก็สงสัยว่ามันเป็นการหนีน้ำของหอยทากรึเปล่า?

หอยทากยักษ์แอฟริกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Achatina fulica เป็นหอยฝาเดียวหรือแกสโตรพอด (gastropod) และหายใจได้บนบกเพราะมันเป็นพวกพัลโมเนต (pulmonate) และมันจมน้ำได้ถ้าอยู่ในน้ำ การหนีน้ำจึงน่าจะเป็นสิ่งที่หอยพวกนี้ทำเวลามีน้ำท่วม

ในปีค.ศ. 1980 รายงานผลการศึกษาหอยทากพวกนี้ในวารสาร Behavioral and Neural Biology ว่าพวกเขาสังเกตเห็นหอยทากยักษ์นี้มารวมกลุ่มกันมากกว่าปกติ หรือมากกว่าที่จะเกิดขึ้นอย่างสุ่ม พวกเขาจึงออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรวมกลุ่มของหอยทากยักษ์แอฟริกันเหล่านี้

นักวิทยาศาสตร์รายงานผลการศึกษาว่าหอยทากยักษ์แอฟริกันมีพฤติกรรมรวมกลุ่มกันเชิงสังคมอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบในหอยทากที่เป็นญาติกันหรือออกมาจากไข่ที่ถูกวางอยู่ร่วมกันมากกว่าปกติ และเป็นพฤติกรรมที่พบในหอยที่โตแล้วมากกว่าในหอยที่เพิ่งฟักออกจากไข่

การสื่อสารระหว่างหอยแต่ละตัวน่าจะผ่านสารเคมี ผ่านการดมกลิ่นของพวกหอย

อ้างอิง:

  • Chase, R, Croll, R. and Zeichner, L. (1980).  Aggregation in snails, Achatina fulica.  Behavioral and Neural Biology 30, 218-230.
  • Facebook ของผมเอง
บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

หดตัวและบิดวน

รายงานในวารสาร Science แสดงให้เห็นว่าถ้าเราถักทอหลอดคาร์บอนนาโน (nanotube) ให้เป็นมัดเหมือนเส้นด้าย และจุ่มมันลวในสารละลายอิเล็กทรอไลต์ (electrolyte) ทำจะทำให้มันหดตัว และบิดเป็นเกลียวได้

กล้ามเนื้อที่พบในงวงช้างและหนวดของปลาหมึกก็จะบิดตัวเมื่อหดสั้นได้เช่นกัน แต่ด้ายถักด้วยหลอดนาโนนี้นั้นหดและบิดตัวได้มากกว่าเป็นพันเท่า

ด้วยขนาดที่เล็กกว่าเส้นผมเป็นแสนเท่า ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดจะใช้มันเป็นมอเตอร์ขนาดเล็กในงานที่ละเอียดอ่อนในระดับไมโครเช่นกัน

ที่มา: BBC News – Nanotube yarns twist like muscles.

อ่านเพิ่มเติม: Torsional Carbon Nanotube Artificial Muscles

บทที่ 3 พันธุศาสตร์, บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

กินผักและผลไม้เยอะๆลดโรคหัวใจ

การศึกษาในคนกว่า 27,000 คนพบว่าหากทานผักสดและผลไม้เยอะๆแล้วจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอันเนื่องมาจากยีน 2p21 ที่อยู่บนโครโมโซม 9 ของเราได้

ในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS Medicine แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความผิดปกติของยีนนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจพอๆกับคนธรรมดาหากทานอาหารที่มีผักสดและผลไม้มากๆ

จะเสี่ยงหรือไม่เสี่ยงก็ควรทานผักสดและผลไม้มากๆอยู่แล้วนะครับ แต่การกินผักแล้วไปลดความเสี่ยงของโรคอันเนื่องมาจากยีนแบบนี้ได้อย่างไรก็ต้องศึกษาในเชิงลึกกันต่อไป

ที่มา: BBC News – Raw vegetables and fruit ‘counteract heart risk genes’.

อ่านต่อ: The Effect of Chromosome 9p21 Variants on Cardiovascular Disease May Be Modified by Dietary Intake: Evidence from a Case/Control and a Prospective Study

บทที่ 2 เซลล์, บทที่ 3 พันธุศาสตร์

ยีนบำบัดกับเซลล์ต้นกำเนิดก่อนนำไปใช้รักษาคนไข้

รายงานงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Nature แสดงให้เห็นถึงการรวมเอาสองเทคโนโลยีมาใช่ร่วมกันรักษาโรค ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาคนไข้โรคพันธุกรรมด้วยเซลล์ต้นกำเนิดของตนเองได้

ตัวอย่างเช่นโรคตับแข็ง (cirrhotic) มีการกลายทางพันธุกรรมที่ทำให้โปรตีนชื่อแอนติทริปซิน (antitrypsin) ออกจากตับที่สร้างมันไม่ได้

วิธีรักษาแบบปกติคือการเปลี่ยนตับ (liver transplant) ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนไข้ก็ต้องกินยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิตเมื่อเปลี่ยนตับแล้ว หากสามารถใช้ตับของตัวเอง ที่เปลี่ยนแต่ยีนที่ผิดปกติจะดีกว่ามาก

นักวิทยาศาสตร์นำเซลล์ผิวหนังมาเปลี่ยนเป็นเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) แล้วใช้ยีนบำบัด (gene therapy) เปลี่ยนยีนผิดปกติให้เป็นยีนปกติ แล้วเปลี่ยนเซลล์ต้นกำเนิดให้กลายเป็นเซลล์ตับปกติ

การทดลองในหนูพบว่าตับใหม่สร้างสารต่างๆได้ปกติ และหนูยังอยู่รอด ในอนาคตคงได้ทดลองกับมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาแง่มุมของการที่เซลล์แบบนี้มีดฮกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งมากขึ้น และค่าใช้จ่ายที่สูงมากเช่นกัน

สมมติว่าเทคโนโลยีแบบนี้เป็นจริงแล้ว อาจใช้รักษาสตีฟ จ็อบส์ไว้ได้…

ที่มา: BBC News – Gene therapy and stem cells unite.

อ่านต่อ: Targeted gene correction of α1-antitrypsin deficiency in induced pluripotent stem cells

บทที่ 3 พันธุศาสตร์

พันธุกรรมของหญิงอายุยืน 115 ปี

ในรายงานการวิจัยที่นำเสนอในการประชุมของสมาคมพันธุกรรมมนุษย์อเมริกันที่ประเทศแคนาดาแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่อายุยืนถึง 115 ปี (รหัส W115) มีพันธุกรรมที่แตกต่างจากคนทั่วไป

ผู้หญิงรหัส W115 มีอายุยืนยาวถึง 115 ปีโดยที่ไม่มีอาการของสมองเสื่อม นักวิทยาศาสตร์ก็อยากทราบว่าเธอมีพันธุกรรมอะไรที่ช่วยปกป้องเธอจากความเสื่อมของสมอง

W115 คลอดก่อนกำหนด แต่ก็รอดมาได้ และมีสุขภาพดีมาตลอด เข้าบ้านพักคนชราอายุ 105 ปี การทดสอบความจำแสดงให้เห็นว่าเธอทำได้เหมือนคนอายุ 60-75 ปี แม้ว่าในขณะนั้นจะมีอายุถึง 113 ปีแล้ว

W115 เสียชีวิตจากเนื้องอกในกระเพาะ และเคยรักษามะเร็งเต้านมตอนอายุ 100 ปีเข้าไปแล้ว

อะไรปกป้องเธอจากโรคร้านต่างๆและการเสื่อมของสมอง? การเปรียบเทียบกับจีโนมมนุษย์ที่มีอยู่ได้จะช่วยให้เราตอบคำถามเหล่านี้ได้ต่อไป

ที่มา: BBC News – DNA sequenced of woman who lived to 115.

บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ความดันโลหิตสูงกับวัยรุ่นหญิงอ้วน

นักวิทยาศาสตร์รายงานการศึกษาในวัยรุ่น 1,700 คนในการประชุมของสมาคม American Physiological Society การเปรียบเทียบดัชนีมวลกาย (BMI) กับความดันโลหิต พบว่าวัยรุ่นหญิงอ้วนมีความเสี่ยงเป็น 3 เท่าของการมีภาวะความดันโลหิตสูงเมื่อเทียบกับเพื่อนที่ไม่อ้วน

ที่มา: BBC News – Obesity ‘worse for teen girls’ blood pressure’.

อ่านเพิ่มเติม: