บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ปลาช่อนกับการอยู่บนบกได้

ปลาช่อนมีชื่อสามัญว่า snakehead fish โดยปลาช่อนในประเทศไทยนั้นเป็นปลาในวงศ์ปลาช่อน หรือ Channidae

ปลาช่อนเป็นปลาสะเทินน้ำสะเทินบก (amphibious fish) ที่อาจขึ้นมาอยู่บนบก และหายใจจากอากาศ (air breathing) ได้ ตรงข้ามกับปลาที่หายใจบนบกไม่ได้ (water breathing)

แหล่งอาศัย (habitat) ของปลาช่อนมักเป็นแหล่งน้ำเล็กๆ ที่อาจมีปริมาณออกซิเจนต่ำ และทำให้มันต้องหายใจเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าไป ความสามารถนี้ยังทำให้มันสามารถเคลื่อนที่บนบกออกจากแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมไปยังแหล่งอาศัยใหม่ด้วยการไถลตัวไปตามพื้น และใช้ครีบอกในการเคลื่อนที่

ปลาช่อนจำศีล (estivation) เป็นการหนีร้อนของสัตว์ โดยมันจะใช้ไขมันซึ่งเป็นอาหารสะสมในการดำรงชีวิตอยู่ในก้อนเมือกที่สร้างขึ้นเพื่อรักษาความชุ่มชื่นและอาจหายใจจากอากาศ

อวัยวะที่ปลาช่อนใช้ในการหายใจจากอากาศคือ suprabranchial organ ซึ่งเป็น labyrinth organ แบบโบราณเกิดจากการดัดแปลงกระดูกค้ำจุนซี่เหงือกให้มีเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยง และใช้หายใจจากอากาศได้ ในขณะที่ตัวมันมีความชุ่มชื้นอยู่ ในวัยเด็ก พวกมันจะยังไม่สามารถหายใจจากอากาศได้ เนื่องจากอวัยวะนี้จะพัฒนาขึ้นเมื่อมันโตขึ้นในภายหลัง

หากยังคงรักษาความชื้นได้ ปลาช่อนอาจอยู่บนบกและหายใจจากอากาศได้กว่าสามวันเลยทีเดียว

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

ใส่ความเห็น