บทที่ 8 นิเวศวิทยา

ปลาทูน่ากับสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ข่าวนี้ BBC News – Bluefin tuna record Fukushima radioactivity มาจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS ที่รายงานผลการศึกษาสารกัมมันตรังสี (radioactive) จากกล้ามเนื้อปลาทูน่าชนิด Thunnus orientalis  ที่จับได้จากมหาสมุทรแปซิฟิก นอกชายฝั่งของเมืองแซนดิเอโก ของอเมริกาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองฟูกุชิม่า ประเทศญี่ปุ่น

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าปริมาณของสารกัมมันตรังสีอย่างซีเซียม (caesium) ไอโซโทป 134 และ 137 ไม่มากพอที่จะเป็นอันตรายได้ ซึ่งหมายความว่าปลาพวกนี้สามารถนำมารับประทานได้

เรามั่นใจได้อย่างไรว่าซีเซียมที่พบในปลามาจากอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะเขาคิดว่าซีเซียม 134 ที่มีครึ่งชีวิต (half-life) เพียงสองปี ทำให้เป็นไปได้มากกว่าปริมาณสารกัมมันตรังสีที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าจากที่พบในปลาทูน่าช่วงก่อนอุบัติเหตุน่าจะมาจากอุบัติเหตุนี่เอง

ในการศึกษาปลาทูน่าชนิดอื่นที่มักอยู่ในน่านน้ำเดียว ไม่ได้เดินทางไปไหน ก็ไม่พบว่ามีความแตกต่างของระดับสารกัมมันตรังสีในเนื้อของมันแต่อย่างใดเมื่อเปรียบเทียบระหว่างช่วงก่อนกับหลังอุบัติเหตุ แสดงให้เห็นว่าปลาทูน่าที่มีสารกัมมันตรังสีนี้ ได้รับสารนั้นมาจากการเดินทางไปใกล้กับบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุในน่านน้ำของญี่ปุ่น