บทที่ 4 วิวัฒนาการ

ผึ้งทหารตัวใหญ่กว่าผึ้งงาน

นักวิทยาศาสตร์รายงการการศึกษาผึ้งทหารในสังคมผึ้งไร้เหล็กไนชนิด Tetragonisca angustula ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS โดยพบว่าผึ้งทหาร (soldier) มีรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากผึ้งงานทั่วไปอยู่อย่างมีนัยสำคัญ

โดยทั่วไปแล้วการแบ่งหน้าที่การงานในรังของแมลงที่อยู่กันเป็นสังคมมีบทบาทต่อความสำเร็จต่อการอยู่รอดในระบบนิเวศ แต่ระบบนี้มีความแปรผันเช่นกันว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแบ่งชนชั้น (caste) กันอย่างไร

สัตว์บางชนิดมีชนชั้นที่แบ่งกันตามอายุ ทำให้แต่ละตัวมีชนชั้นแบบชั่วคราว เมื่อมันอายุมากขึ้น หน้าที่ก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย แต่ในบางสปีชีส์เช่นมดและปลวก พวกมันมีตัวที่จะทำหน้าที่ต่างๆที่ชัดเจน และมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน เช่นมดงาน จะแตกต่างกับมดทหาร

ผึ้งไร้เหล็กไน

ในผึ้งและต่อแตนนั้นไม่ค่อยพบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างระหว่างชนชั้น แต่ในการศึกษาผึ้งไร้เหล็กไนชนิด Tetragonisca angustula นั้นนักวิทยาศาสตร์พบว่าผึ้งทหารที่มีขนาดใหญ่กว่าผึ้งงานประมาณ 30% ไม่ว่าจะเป็นผึ้งทหารกองกำลังที่หนึ่งที่บินรักษารัง หรือผึ้งทหารกองกำลังที่สองที่ปกป้องทางเข้ารัง

รูปร่างของผึ้งทหารชนิดนี้ก็แตกต่างจากผึ้งงาน โดยพบว่ามันมีขาขนาดใหญ่กว่า นอกจากนี้ยังพบว่าอาจจะมีผึ้งงานที่มีการแบ่งเป็นชนชั้นย่อยในรังอีก เนื่องจากพบว่าผึ้งงานที่ทำหน้าที่ทิ้งขยะของรังมีขนาดอยู่ระหว่างกลางระหว่างผึ้งงานที่ออกหาอาหารกับผึ้งทหารด้วย

จำนวนผึ้งทหารของผึ้งชนิดนี้มีปริมาณที่ต่ำ แต่เชื่อว่าเพียงพอที่จะใช้ปกป้องรังที่ 1-2% ต่อผึ้งงานที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาพบว่าผึ้งทหารที่ออกมาปกป้องรังจะมีน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ที่ออกมาปฏิบัติหน้าที่ที่เวลาใดๆ

เมื่อให้มันปกป้องรังจากผึ้งชนิด Lestrimelitta limao (robber bee) ที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์พบว่าผึ้งตัวใหญ่กว่าจะสู้กับผู้บุกรุกได้นานกว่า (แม้ว่าจะแพ้ไปในภายหลังก็ตาม)

การศึกษานี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับผึ้ง ชนชั้น การแบ่งหน้าที่ และสัดส่วนของแต่ละกลุ่มในสังคมผึ้งเพื่อนำไปสู่การศึกษาเรื่องอื่นต่อไป และเพื่อใช้เปรียบเทียบกับแมลงสังคมอื่นๆ เช่นปลวกและมดได้อีกด้วย

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 7 โครงสร้างและหน้าที่ในสัตว์

ปลาช่อนกับการอยู่บนบกได้

ปลาช่อนมีชื่อสามัญว่า snakehead fish โดยปลาช่อนในประเทศไทยนั้นเป็นปลาในวงศ์ปลาช่อน หรือ Channidae

ปลาช่อนเป็นปลาสะเทินน้ำสะเทินบก (amphibious fish) ที่อาจขึ้นมาอยู่บนบก และหายใจจากอากาศ (air breathing) ได้ ตรงข้ามกับปลาที่หายใจบนบกไม่ได้ (water breathing)

แหล่งอาศัย (habitat) ของปลาช่อนมักเป็นแหล่งน้ำเล็กๆ ที่อาจมีปริมาณออกซิเจนต่ำ และทำให้มันต้องหายใจเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าไป ความสามารถนี้ยังทำให้มันสามารถเคลื่อนที่บนบกออกจากแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมไปยังแหล่งอาศัยใหม่ด้วยการไถลตัวไปตามพื้น และใช้ครีบอกในการเคลื่อนที่

ปลาช่อนจำศีล (estivation) เป็นการหนีร้อนของสัตว์ โดยมันจะใช้ไขมันซึ่งเป็นอาหารสะสมในการดำรงชีวิตอยู่ในก้อนเมือกที่สร้างขึ้นเพื่อรักษาความชุ่มชื่นและอาจหายใจจากอากาศ

อวัยวะที่ปลาช่อนใช้ในการหายใจจากอากาศคือ suprabranchial organ ซึ่งเป็น labyrinth organ แบบโบราณเกิดจากการดัดแปลงกระดูกค้ำจุนซี่เหงือกให้มีเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยง และใช้หายใจจากอากาศได้ ในขณะที่ตัวมันมีความชุ่มชื้นอยู่ ในวัยเด็ก พวกมันจะยังไม่สามารถหายใจจากอากาศได้ เนื่องจากอวัยวะนี้จะพัฒนาขึ้นเมื่อมันโตขึ้นในภายหลัง

หากยังคงรักษาความชื้นได้ ปลาช่อนอาจอยู่บนบกและหายใจจากอากาศได้กว่าสามวันเลยทีเดียว

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 4 วิวัฒนาการ, บทที่ 5 ความหลากหลาย

ควายปลักวิวัฒนาการมาจากอะไร

ควายปลักบ้านเรา วิวัฒนาการมาจากควายแม่น้ำชนิด Bubalus arnee ที่ถูกนำมาเลี้ยงและผสมพันธุ์โดยมนุษย์มาเป็นเวลานาน

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

เกี่ยวกับเรา

เปลี่ยนธีมใหม่เป็น Autofocus

เปลี่ยนธีมใหม่ประจำสัปดาห์นี้เป็น AutoFocus ซึ่งเน้นรูปถ่ายมากกว่าข้อความ ทำให้เดี๋ยวต้องหาภาพมาโพสต์เพื่อให้มันแสดงผลได้เต็มศักยภาพของธีมนี้

ภาพจับหน้าจอ

หลังจากเพิ่มภาพลงไปในโพสต์ หน้าแรกจะมีภาพออกมาแบบนี้

ภาพหน้าจอใหม่

ดูแล้วเหมือนว่าจะยังไม่สวย สงสัยเหมาะกับภาพถ่ายมากกว่าภาพวาด

ลองเพิ่มภาพถ่ายดู

เพิ่มภาพถ่าย

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

บทที่ 5 ความหลากหลาย

คลังความรู้เรื่องเปลือกหอย

หอยเปลือกเวียนซ้ายและเวียนขวา

คลังความรู้จากราชบัณฑิตยสถาน (The Royal Institute) มีรายละเอียดเกี่ยวกับเปลือกหอย ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง บอกวิธีการดูว่าเปลือกหอยเป็นแบบเวียนขวาหรือเวียนซ้าย แค่เอามันวางบนฝ่ามือ โดยให้จุดยอด (apex) หันออกจากตัว แล้วดูว่าหอยในมือมีช่องเปิดไปทางด้านไหน ก็จะเรียกว่าเปลือกมันเวียนตามนั้น กล่าวคือถ้าช่องเปิดหันไปทางขวา ก็เรียกว่าเวียนขวา (dextral) ถ้าช่องเปิดหันไปทางซ้ายมันก็จะเป็นการเวียนซ้าย (sinistral) โดยหอยฝาเดียวส่วนมากจะมีเปลือกเวียนขวากัน

แต่หากเป็นการมองแบบพราหมณ์ จะพบว่ามองต่างกัน โดยหอยเวียนซ้ายนั้น จะเรียกว่าเป็นเวียนขวา (ทักษิณาวัตร) ในขณะที่หอยเวียนขวาทางสังขวิทยา จะเรียกว่าเป็นแบบเวียนซ้ายแบบอุตราวัฏ

ที่มา:

บทที่ 5 ความหลากหลาย

ปลาดุกหนาม

ปลาดุกหนาม

ข่าวที่น่าตื่นเต้นนี้มาจากทีมสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศเล็กๆในอเมริกาใต้ที่พบสิ่งมึชีวิตชนิดใหม่กว่าเกือบ 50 ชนิดที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเรายังไม่เคยพบพวกมันที่ไหนมาก่อนในโลก

ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่นปลาดุก (catfish) ที่มีเกราะป้องกันตัวเป็นหนามแหลมทั่วตัว ซึ่งเชื่อว่านี่เป็นการปรับตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากปลาปิรันย่า (pranha)

นอกจากความน่าตื่นเต้นของการได้พบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆที่ไม่เคยเห็นมาก่อนแบบนี้แล้ว ยังต้องถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องประกาศพื้นที่ที่อาศัยสำคัยของสัตว์ประหลาดเหล่านี้ให้เป็นเขตอนุรักษ์โดยเร็วอีกด้วย

ที่มา: BBC Nature – Suriname team find 46 new species in tropical forests.

บทที่ 4 วิวัฒนาการ

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง “เส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์” หรือ Bio-Geo Path ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพมหานคร

ที่มา: พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง:: มหาวิทยาลัยมหิดล — ปัญญาของแผ่นดิน —.

bio-geo_path_2016
MUSC Bio-Geo Path